เห็นว่ามีประโยชน์ครับ
ก่อนอื่นพูดเรื่อง coil ก่อน coil มีหน้าที่เปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้าจาก 12 v เป็น 12,000 v(1,000 เท่า) เพื่อสามารถให้ไฟกระโดดข้ามช่องว่างระหว่างเขี้ยวหัวเทียนได้ แต่เนื่องจาก coil มีตัวเดียวหัวเทียนมีหลายตัวจึงต้องมีจานจ่ายเพื่อส่งไฟไปให้หัวเทียนแต่ละตัวได้อย่างถูกต้อง แต่ระบบนี้ก็มีข้อเสียเนื่องจาก coil เพียงตัวเดียวอาจทำงานได้ไม่ดีพอยิ่งในรอบสูงๆ
ตัวอย่างในเครื่องยนต์ 4 สูบ ที่หมุน 6,000 รอบ coil จะต้องจุดระเบิดถึง 200 ครั้งใน 1 วินาทีหรือต้องเหนี่ยวนำไฟในแต่ละครั้งภายในเวลาแค่ 5 มิลลิวินาที ดังนั้นปัญหาที่รอบเครื่องสูงคือไฟที่เขี้ยวหัวเทียนไม่แรงพอที่จะทำให้การเผาไหม้ไม่เต็มที่และยิ่งรอบเครื่องสูง เวลาการเผาไหม้ก็จะยิ่งสั้น ถ้าประกายไฟน้อยหรือบางการเผาไหม้ก็ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น ยิ่งพวกที่มีเทอร์โบหรือเครื่องที่มีกำลังอัดสูง มีแรงดันในห้องเผาไหม้สูง การวาบไฟของหัวเทียนยิ่งเป็นไปได้ยากเข้าไปอีกตรงนี้ผู้ผลิตรถจึงแก้โดยการเพิ่ม coil เป็น coil 1 ตัวต่อ 2 กระบอกสูบ (Dual coil) และ เป็น coil 1 ตัวต่อ 1 กระบอกสูบ
การเพิ่มจำนวน coil ทำให้ coil มีเวลาเพียงพอที่จะสร้างไฟได้เต็มที่ในการจุดระเบิดที่รอบสูง แต่สำหรับเครื่องที่ถูกโมมามันย่อมไม่พอ
ไม่พ้นสำนักแต่งต่างๆได้คิดค้นพวกอุปกรณ์เพิ่มระดับแรงดันของไฟจุดระเบิดเพื่อแก้ปัญหาไฟในรอบสูง
โดยใช้แนวคิดการเพิ่มเสต็ปแรงดันแทนที่ จาก 12V เป็น 12,000V ก็กลายเป็น 12V เป็น 500V เป็น 50,000v อุปกรณ์นั้นคือ CDI
CDI ย่อมาจาก Capacitor discharge ignition ยีห้อที่มีการผลิตเก่าแก่จากอเมริกาก็เป็น MSD ส่วนทางญี่ปุ่นก็ ULTRA และนอกจากนี้ก็มียี่ห้อใหญ่ๆ อย่าง AEM ,MOTEC
หลักการของ CDI คือแทนที่ coil จะรับไฟ 12 v มาเหนี่ยวนำ ก็ส่งไฟสูงระดับ 500V ไป coil แทน เมื่อไฟเข้าสูงไฟออกก็สูงตามไปด้วยระดับ ประมาณ 50,000v (1,000 เท่า) ส่วนการติดตั้งก็จะคั่นระหว่างสัญญาณจุดระเบิดกับ coil
Thanks: ฝากรูป GEDการทำงานของมันก็จะดึงไฟเข้ามาเก็บไว้ในตัว จากนั้นก็ปล่อยออกตามสัญญาณการจุดระเบิด
แต่การติดตั้ง CDI ก็มีข้อควรระวังคือ coil กับสายหัวเทียนถูกออกแบบมาที่ Voltage ระดับหนึ่ง แต่เราเพิ่มระดับแรงดันเข้าไปอีก 40 กว่าเท่า มันจะทำให้ฉนวนรับแรงดันไม่ไหว ทำให้ฉนวนเกิดการ Breakdown ทางที่ดีควรเปลี่ยนเป็น coil กับสายหัวเทียนแต่งเพื่อรับกับระดับ Voltage ที่เพิ่มขึ้น