AE. Racing Club
06 ตุลาคม 2024 22:34:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [«5]  «  1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 15  »  [5»]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: !!==CHONBURI HORROR ZONE==!!  (อ่าน 66843 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
aibua
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #140 เมื่อ: 02 มีนาคม 2008 17:05:05 »

น่าสนุกดีนะครับ

อยากแจมด้วยจัง
บันทึกการเข้า
^^warriorball^^
นักแข่งมืออาชีพอันดับสาม
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 540


เน้นใช้งาน..แต่ขับมันส์...


ดูรายละเอียด
« ตอบ #141 เมื่อ: 02 มีนาคม 2008 18:38:30 »

น่าสนุกดีนะครับ

อยากแจมด้วยจัง
ว่าจะแจมด้วยเหมือนกาน..รอพี่ปูมเค้ากลับมาก่อน...
บันทึกการเข้า
~POOMZA~
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,164


ปูม 081-7045833


ดูรายละเอียด
« ตอบ #142 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2008 22:38:10 »

ขุดกระทู้หน่อยหายลับตาไปนาน เด๋วเอาอะไรใหม่ๆมาลงครับ
บันทึกการเข้า

...ใต้ฟ้าสีคราม...
Center Racing
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,588


อยากมันส์..ก็ดันมา(จัดให้ตลอด)


ดูรายละเอียด
« ตอบ #143 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2008 22:06:21 »

เอาด้วยโคนนนนนนนะกับน่าหนุกหนาน
บันทึกการเข้า



0852764535 MISS CALL
Partner By WIN RACING  SHOP
Modify&Setup By 24 AUTOCAR (ช่างพง)
^^warriorball^^
นักแข่งมืออาชีพอันดับสาม
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 540


เน้นใช้งาน..แต่ขับมันส์...


ดูรายละเอียด
« ตอบ #144 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2008 09:43:29 »

up กระทู้ซ๊ะหน่อยก๊าบบบ...
บันทึกการเข้า
gtoism
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #145 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2008 01:40:19 »

ดีๆๆ เคยเล่นแบบนี้สมัยยังเรียนมอบู ขึ้นไปบนยอด น่ากัวโคด ไประลึกความหลังกันนนนนนนนคับบบบบบ
บันทึกการเข้า
Pencom.CZ 49
AE Racing Club Staff
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13,950


นู๋คุณ รักในหลวง


ดูรายละเอียด
« ตอบ #146 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2008 09:10:30 »

โซนนี้น่ากลังจิง มีไปดูผีกันด้วย เง่ออออ
บันทึกการเข้า

** 35ํ vol. **
** 4ทุ่มท่าพระ **
aibua
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #147 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2008 11:41:54 »

อะหน้ากลัว

แต่อยากไป

เดี๋ยวจะหิ้ว สาวๆ ไป กอด แก้กลัว

สัก  สอง สาม คน
บันทึกการเข้า
โน่ SRC ™
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14,361


086-6202798 โน่ SRC


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #148 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2008 13:55:41 »

ผมขอแนะนำบ้านผีสิง อยู่ที่สัตฮีบคับ เคยออกรายการของ ดีเจป๋องด้วยนะคับ
บันทึกการเข้า
1300 ก็แค่นั้น
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,166


ดีชั้วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว


ดูรายละเอียด
« ตอบ #149 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2008 19:56:04 »

ผมขอแนะนำบ้านผีสิง อยู่ที่สัตฮีบคับ เคยออกรายการของ ดีเจป๋องด้วยนะคับ
บ้าน3หลังป่ะ อิอิ
บันทึกการเข้า

ขอแค่มีน้ำใจ แม้ขับรถอะไรก็เพื่อนผม\\\\\\น้ำปั่นมาแว้วววววววววววว
โน่ SRC ™
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14,361


086-6202798 โน่ SRC


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #150 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2008 10:57:12 »

ผมขอแนะนำบ้านผีสิง อยู่ที่สัตฮีบคับ เคยออกรายการของ ดีเจป๋องด้วยนะคับ
บ้าน3หลังป่ะ อิอิ




หลังเดียวคับ แต่อยู่หลังเดียวโดดๆ ห่างจากชุมชนมาก เคยมีคนโดนมาเยอะมากเลยคับ ขนาดผมขี่รถผ่านยังขนลุกเลยคับ
บันทึกการเข้า
1300 ก็แค่นั้น
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,166


ดีชั้วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว


ดูรายละเอียด
« ตอบ #151 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2008 12:19:35 »

ผมขอแนะนำบ้านผีสิง อยู่ที่สัตฮีบคับ เคยออกรายการของ ดีเจป๋องด้วยนะคับ
บ้าน3หลังป่ะ อิอิ




หลังเดียวคับ แต่อยู่หลังเดียวโดดๆ ห่างจากชุมชนมาก เคยมีคนโดนมาเยอะมากเลยคับ ขนาดผมขี่รถผ่านยังขนลุกเลยคับ
ไปกันป่ะพี่ อิอิ
บันทึกการเข้า

ขอแค่มีน้ำใจ แม้ขับรถอะไรก็เพื่อนผม\\\\\\น้ำปั่นมาแว้วววววววววววว
โน่ SRC ™
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14,361


086-6202798 โน่ SRC


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #152 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2008 16:42:03 »

ผมขอแนะนำบ้านผีสิง อยู่ที่สัตฮีบคับ เคยออกรายการของ ดีเจป๋องด้วยนะคับ
บ้าน3หลังป่ะ อิอิ




หลังเดียวคับ แต่อยู่หลังเดียวโดดๆ ห่างจากชุมชนมาก เคยมีคนโดนมาเยอะมากเลยคับ ขนาดผมขี่รถผ่านยังขนลุกเลยคับ
ไปกันป่ะพี่ อิอิ



มาลองพิสูจน์ดูก็ได้คับ แต่ผมเป็นคนชี้เป้าใหเฉยๆ  ผมไม่เข้าไปนะ ผมกลัวววว....................
บันทึกการเข้า
aibua
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #153 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2008 16:57:55 »

โหยพี่แนะนำ กันดีดีจริงๆ

ไม่กลัวกันหรอก๊าบบบบบ
บันทึกการเข้า
~POOMZA~
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,164


ปูม 081-7045833


ดูรายละเอียด
« ตอบ #154 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2008 20:18:20 »

 ซุบซิบ อัฟหน่อยๆครับ
อีกที่ หอดำ เด็กเทคดสัตฮีบ รู้ตักทุกคน ฮับ  ซุบซิบ
บันทึกการเข้า

...ใต้ฟ้าสีคราม...
YaSeN
Moderator
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,716



ดูรายละเอียด
« ตอบ #155 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2008 19:40:00 »

จัดไปน้อง เรื่องราว ดีๆๆ มาเล่นสู่กันฟัง รอฟังด้วยคน
บันทึกการเข้า
~POOMZA~
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,164


ปูม 081-7045833


ดูรายละเอียด
« ตอบ #156 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2008 11:23:56 »

ผี : ความเชื่อของชาวอีสาน



คติความเชื่อเรื่องผีเป็นคติความเชื่อที่มีอยู่ในปัจเจกชนแต่ละคน ซึ่งพยายามหาคำตอบในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ผีเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเหนืธรรชาติ ที่อยู่เหนืออำนาจการควบคุมของมนุษย์ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มนุษย์มีความผูกพันกันและได้แสดงพฤติกรรมร่วมกันเกิดเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผี

ผี ในทัศนคติของชาวบ้านเป็นผีที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ผีเป็นผู้ให้ความหมายหรืออาจกล่าวได้ว่า ผีเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ผีเป็นสิ่งที่รู้สึกสัมผัสได้ อาจจะไม่ใช่ด้วยระบบประสาททั้งห้า หากมันเกิดขึ้นด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธา ที่ทำให้เกิดดุลยภาพในสังคมระดับชาวบ้าน แม้แต่ในราชสำนักไทยแต่เดิมพิธีกรรมต่าง ๆ ก็มีความเชื่อเรื่องผีเข้าไปปะปนอยู่มาก ความเชื่อเรื่องภูติผีนั้นฝังแน่นอยู่กับคตินิยมของคนไทยอย่างแน่นแฟ้นตั้งแต่สมัยอดีต แม้แต่ทางบ้านเมืองก็ยังมีพระราชพิธีเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องภูติผีอยู่ไม่น้อย ในรอบปีหนึ่ง ๆ เช่น การเซ่นสรวงพระเสื้อเมือง พระทรงเมืองและหลักเมือง รวมทั้งพิธีสอบสวนคดีความสมัยอดีตโดยใช้พิธีลุยไฟ ดำน้ำ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของจำเลย ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวเป็นความเชื่อในภูติผีวิญญาณทั้งสิ้น แม้แต่สมัยกรุงสุโขทัยซึ่งศาสนาพุทธกำลังเจริญรุ่งเรือง การนับถือผีสางก็ยังนิยมกันอยู่ ปัจจุบันในท้องถิ่นอีสานบางแห่งความเชื่อเรื่องผีก็ยังมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชุมชนอยู่มาก

สำหรับคนอีสาน ผีคือวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือที่มีอยู่แล้วโดยไม่ทราบว่ามีมาแต่เมื่อใดหรือมีมาอย่างไร ผีเหล่านี้ประกอบด้วยผีประเภทต่าง ๆ เช่น ผีนา ผีป่า ผีเขา ผีบ้าน ผีหมู่บ้าน ผีปู่ย่าตายาย ผีฟ้า ผีแถน และผีอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งผีที่เกิดจากการกระทำของบุคคล เช่น ผีปอบ ความเชื่อเรื่องผีอันเป็นความเชื่อที่มีมาแต่เดิม ผสมผสานกับความเชื่อในพระพุทธศาสนา จนแทบจะแยกกันไม่ออกว่าพิธีกรรมใดเกิดจากความเชื่อในพระพุทธศาสนา หรือพิธีกรรมใดเกิดจากความเชื่อเรื่องผี

ความเชื่อเรื่องผีของชาวอีสานเข้ามาผูกพันในการประกอบอาชีพ ซึ่งว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน การทำนาอันเป็นอาชีพที่ขึ้นอยู่กับสภาพของธรรมชาติดินฟ้าอากาศ จะได้ผลหรือไม่ได้ผลขึ้นอยู่กับธรรมชาติ และสิ่งที่นับว่ามีความสำคัญต่อการทำนาก็คือน้ำ น้ำที่ได้จากน้ำฝน ซึ่งชาวอีสานเชื่อว่ามีผีเป็นผู้คอยบันดาลให้ฝนตก ฝนจะตกต้องตามฤดูกาลหรือไม่ มีน้ำเพียงพอหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอำนาจดลบันดาลของผีแถน ก่อนลงมือทำนาเมื่อย่างเข้าฤดูฝนจึงต้องมีพิธีกรรมขอฝนจากผีแถน เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มีน้ำมากพอที่จะได้ทำนา เมื่อได้น้ำฝนแล้ว ก่อนลงมือหว่านข้าวกล้าก็จะมีพิธีไหว้ผีระจำที่นา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าผีตาแฮก เพื่อข้าวกล้าจะได้เจริญงอกงามไม่ถูกรบกวนจากศัตรูข้าว ได้ข้าวเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อความอยู่รอดในการดำเนินชีวิต เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็มีพิธีสู่ขวัญลานนวดข้าว สู่ขวัญข้าวเพื่อเป็นสิริมงคลมีข้าวได้พอกินตลอดปี ก่อนที่จะถึงฤดูกาลทำนาในปีต่อไป ซึ่งล้วนแต่เป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับผีทั้งสิ้น

ผีเป็นสัญลักษณ์แทนอำนาจเหนือธรรมชาติที่ชาวอีสานให้ความสำคัญมาก เพราะผีผูกพันอยู่กับการดำเนินชีวิต พอแรกเกิดชีวิตก็ผูกพันกับผีทันที คือมีพิธีการสู่ขวัญเด็กแรกเกิด เพื่อให้ผีที่เชื่อว่าเป็นผีร้ายไม่ให้มาทำลายชีวิตที่จะเติบโตต่อไปในวันข้างหน้า และให้ผีที่ดีมาคุ้มครองปกปักรักษาให้เป็นคนดีมีความเจริญ มีวิถีทางในการดำเนินชีวิตที่ดีในภายภาคหน้า เมื่อเจริญวัยขึ้นการดำเนินชีวิตตามฮีตตามคอง อันเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของชาวอีสานแต่อดีต ความเชื่อเรื่องผีก็เข้าไปมีบทบาทอยู่มาก ในหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเมื่อถึงวัยอันควรที่จะมีชีวิตคู่เข้าสู่พิธีแต่งงาน พ่อแม่ฝ่ายหญิงก็จะดูว่าชายที่จะมาเป็นลูกเขย มีความประพฤติเป็นอย่างไร ตามฮีตตามคองหรือไม่ ประพฤติตัวผิดผีหรือไม่ เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงพิจารณาเป็นที่พอใจแล้วก็จะจัดให้มีพิธีแต่งงาน ในพิธีแต่งงานนั้นช่วงหนึ่งจะมีพิธีบอกกล่าวผีบรรพบุรุษให้ทราบว่าชายหญิงคู่นี้จะใช้ชีวิตร่วมกัน ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผีปู่ย่าตายายจงมารับรู้ มาปกปักรักษาให้ชีวิตคู่ของคนทั้งสองมีการครองเรือนที่มีแต่ความสุข อย่าให้ความทุกข์มากล้ำกราย แม้ถึงคราวเจ็บป่วยความเชื่อเรื่องผีก็เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยชาวอีสานจะพิจารณาจากอาการ จากลักษณะของโรคที่เป็นแยกออกเป็นสองลักษณะคือ โรคที่เกิดจากพยาธิหรือเชื้อโรคนั่นหมายถึงเป็นโรคที่เกิดจากธรรมชาติ ต้องหายามารักษาซึ่งอาจได้จากสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปหรือยาจากสาธารณสุข และถ้าไม่ใช่โรคที่เกิดจากธรรมชาติก็เกิดจากการกระทำของภูติผี หรือว่าคนป่วยไปกระทำการอันใดอันหนึ่งที่เป็นการผิดผีมา ก็จะมีวิธีการรักษาอีกแบบหนึ่ง คือใช้นางเทียม (ผู้ทรงผีฟ้า) เข้าประทับทรงติดต่อกับผีสอบถามว่าผู้ป่วยได้กระทำการอันใดที่เป็นการผิดผีหรือไม่ ถึงได้สำแดงให้ต้องเป็นไปเช่นนั้น เมื่อทราบจากนางเทียมว่าผู้ป่วยไปกระทำการอันใดที่เป็นการผิดผี ก็ให้ผู้ป่วยไปแก้ไขตรงจุดนั้น ด้วยการแต่งพิธีกรรมเพื่อขอขมาบูชาเซ่นสรวง ซึ่งบางรายก็หายจากการเจ็บป่วยจริง ๆ ก็มี อาจเป็นเพราะความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติที่ทำให้เกิดกำลังใจในการต่อสู้กับโรคภัยก็เป็นได้

อำนาจเหนือธรรมชาติที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผียังเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของชาวอีสานแม้กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อมีคนตายชาวอีสานจะมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการส่งวิญญาณของผู้ที่จากไปให้ไปสู่ภพที่มีแต่ความสงบสุข ดินแดนที่ชาวอีสานเชื่อว่ามีความสงบสุขก็คือสวรรค์ จากความเชื่อที่ว่าถ้าได้ทำบุญให้ผู้ตายแล้ว ผู้ตายจะไปมีสุขอยู่บนสวรรค์น่าจะส่งผลมายังญาติพี่น้องที่อยู่ข้างหลัง คือช่วยให้คลายทุกข์โศกจากการจากไปของญาติที่เสียชีวิต ถึงแม้เขาจะจากไปแต่ก็ไปพบกับความสุขอยู่บนสวรรค์ ซึ่งเป็นดินแดนที่มีแต่ความสุข สงบ สบาย แม้ผู้ตายจะตายไปนานแล้วก็ตาม ชาวอีสานก็ยังมีความเอื้ออาทรต่อผู้ตาย คือยังมีพิธีกรรมในฮีตเดือนเก้า การทำบุญข้าวประดับดินเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ให้ยังคงได้รับความสุขอยู่บนสวรรค์ โดยเชื่อว่าผีผู้ตายสามารถที่จะรับเอาส่วนบุญนี้ได้

ความเชื่อเรื่องผีของชาวอีสานยังมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับอีกหลายสิ่งหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ป่า เขา ไร่ นา และหมู่บ้าน สังเกตได้จากการมีพิธีกรรมทำบุญให้ผีอย่างสม่ำเสมอเกือบตลอดทั้งปี หรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้าก็จะมีการบนบานขอขมาต่อภูติผีวิญญาณ เพื่อเป็นการเรียกขวัญและกำลังใจของตนกลับคืนมา เปรียบเสมือนผีคืออำนาจเหนือธรรมชาติ ชาวอีสานมีจิตสำนึกอยู่เสมอว่าธรรมชาติรอบ ๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็น ป่า เขา มีภูติผีวิญญาณสิงสถิตอยู่ซึ่งมองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึกที่มีอยู่ ในทัศนะเช่นนี้เป็นการเอื้อต่อการดำเนินชีวิตให้มีความสมดุลย์ในสังคมอีสาน ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ความเชื่อเรื่องผีในสังคมอีสานคล้ายกับกฎหมายในปัจจุบัน คนอีสานจึงยึดถือปฏิบัติตามฮีตสอบสองคองสิบสี่ ซึ่งหมายถึงบรรทัดฐานแห่งการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน อันมีความเชื่อเรื่องผีเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่มาก

ความเชื่อเรื่องผีมีความผูกพันกับชีวิตของคนอีสานตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย เกี่ยวข้องกับชีวิตตลอดเวลา อำนาจเหนือธรรมชาติซึ่งมีผีเป็นตัวแทน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของวิถีชีวิตชาวอีสานมาตั้งแต่ครั้งอดีต ผีทำให้ชาวอีสานดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเดี่ยวกันด้วยความราบรื่น สงบสุข โดยไม่ต้องมีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีศาลมาคอยตัดสินคดีถึงสิ่งถูกผิด ความเชื่อเรื่องผีและฮีตคองในท้องถิ่นจะเป็นสิ่งที่ชี้ว่า อย่างนั้นดีอย่างนี้ไม่ดี ความเชื่อเรื่องผีความสำคัญอาจจะไม่อยู่ที่ผี แต่อยู่ที่ ? จิตสำนึกของมนุษย์ ? ก็เป็นได้
บันทึกการเข้า

...ใต้ฟ้าสีคราม...
~POOMZA~
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,164


ปูม 081-7045833


ดูรายละเอียด
« ตอบ #157 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2008 11:26:31 »

พิธีกรรมผูกสายสัมพันธ์คนใต้

   วันนี้บ้านนางหนูพัน คงเชื้อ หญิงวัยกลางคนในหมู่บ้านบ่ออิฐ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จะมีพิธีกรรมโนราโรงครู หรือ โนราลงครู ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญของตระกูล พวกญาติ ๆ และเพื่อนบ้านผู้หญิงมาช่วยกันเตรียมอาหารตั้งแต่เช้า ส่วนพวกผู้ชายเตรียมสถานที่อยู่ที่หน้าบ้าน ตกบ่ายบรรดาญาติพี่น้องที่ไปทำงานต่างถิ่นทยอยกันกลับมาถึงบ้าน..ใคร?..าน ส่งเสียงทักทายกันดังขรม 
 
     ในวัฒนธรรมถิ่นใต้ นอกจากงานบุญเดือนสิบแล้ว ก็มีงานโนราโรงครูนี่แหละ ที่ญาติพี่น้องจะได้กลับมาไหว้ผีบรรพบุรุษ แบบพร้อมหน้าพร้อมตา แต่งานนี้จำกัดวงผู้ร่วมพิธี เฉพาะลูกหลานของโนราเท่านั้น
   ความพิเศษของพิธีกรรมนี้ก็คือ ลูกหลานจะได้พบปะพูดคุย กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วหลายชั่วคน ผ่านร่างทรงประจำตระกูล โดยมีโนราผู้เชี่ยวชาญทางการร่ายรำ และไสยศาสตร์เป็นผู้ประกอบพิธี
   จุดมุ่งหมายหลักของการแสดงโนราในงานนี้ จึงมิได้อยู่ที่การให้ความบันเทิง เฉกเช่นมหรสพทั่วไป หากทำหน้าที่เชื่อมสายใย และผูกสัมพันธ์คนใต้ในโลกนี้ และโลกหน้าให้เป็นหนึ่งเดียว   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กรกฎาคม 2008 11:28:54 โดย Poom CRZ#033 » บันทึกการเข้า

...ใต้ฟ้าสีคราม...
~POOMZA~
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,164


ปูม 081-7045833


ดูรายละเอียด
« ตอบ #158 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2008 11:26:46 »


๑. เหตุแห่งโรงครู
   ล่วงเข้าบ่ายแก่ รถบรรทุกพร้อมคณะโนรากว่า ๒๐ ชีวิตค่อย ๆ เคลื่อนเข้ามาจอดใกล้โรงโนราหน้าบ้านนางหนูพัน หญิงเจ้าของบ้านรีบถือขันหมากออกมาต้อนรับตามธรรมเนียมโบราณ ด้วยถือกันว่าหากเจ้าบ้านไม่นำขันหมากมาต้อนรับ โนราจะเข้าไปประกอบพิธีข้างในโรงไม่ได้ โนราพนมศิลป์ นายโรงหัวหน้าคณะ เดินมารับขันหมาก และทักทายเจ้าของบ้าน ด้วยความคุ้นเคย เพราะรับขันหมากโรงครูครอบครัวนี้มานานหลายปี
   คณะโนราทยอยขนเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปวางบนเสื่อน้ำมันกลางโรงโนราเพื่อประกอบพิธีตั้งเครื่อง ขอความเป็นสิริมงคลให้พิธีกรรมนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี หลังจากนั้นนายโรงจึงเรียกสมาชิกในตระกูล ของเจ้าภาพทุกคนเข้ามานั่งรวมกันในโรง เพื่อทำพิธีชุมนุมครู เชิญ "ตายาย" หรือผีบรรพบุรุษมาสิงสถิตบนสาดคล้าที่ปูไว้กลางโรง โนราร้องเชิญตายายตามรายชื่อที่เจ้าภาพเขียนมา โดยมิให้ตกหล่น เพราะหากเอ่ยชื่อไม่ครบ ตายายจะโกรธ และมาลงโทษลูกหลานในภายหลัง

   ในวัฒนธรรมโนรา ตายายมีทั้งที่ปรากฏในตำนาน และตายายที่เคยมีตัวตนจริงในโลกมนุษย์ ตายายที่ปรากฏในตำนานหรือที่เรียกกันว่าครูหมอโนรา เป็นตายายที่ปรากฏชื่ออยู่ในตำนานกำเนิดโนรา ซึ่งลูกหลานโนราแต่ละตระกูล อาจนับถือครูหมอโนรา ต่างกันไปตามชุดตำนานที่สืบทอดกันมาในท้องถิ่นนั้น อาทิ ตำนานนางนวลทองสำลี ตำนานตายายพราหมจันทร์ ตำนานเจ้าแม่อยู่หัว เป็นต้น
   แม้ว่าตำนานโนราจะมีหลายชุดหลายสำนวน  แต่นักวิชาการผู้สำรวจตำนานโนรา ต่างลงความเห็นว่า ตำนานทั้งหมดมีโครงเรื่องหลักเหมือนกัน แตกต่างกันเพียงชื่อบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์บางเหตุการณ์เท่านั้น เรื่องมีอยู่ว่า กษัตริย์เมืองหนึ่งมีพระธิดาที่โปรดการร่ายรำ ซึ่งเป็นของแปลกในสมัยนั้นมากเป็นพิเศษ วันหนึ่งพระธิดาตั้งครรภ์โดยไม่รู้สาเหตุ (บางตำนานว่าตั้งครรภ์ หลังจากกินดอกบัวทิพย์ของเทวดา) กษัตริย์ทรงอับอายจึงรับสั่งให้นำพระธิดาไปลอยแพ พระธิดาไปติดอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่ง และให้กำเนิดบุตรชาย ต่อมาเทวดาได้ถ่ายทอดท่ารำให้แก่บุตรพระธิดา ฝีมือการร่ายรำของบุตรพระธิดา เลื่องลือไปถึงในวัง เมื่อกษัตริย์ทอดพระเนตรเห็นก็รู้ว่าเป็นหลาน จึงพระราชทานเครื่องทรงกษัตริย์ มาให้หลานแต่งตัวและรับกลับวัง   
     ครูหมอโนราที่ลูกหลานเชิญมาร่วมพิธีมักมี ๑๒ องค์ ได้แก่ พระเทพสิงหรหรือพ่อเทพสิงหร ขุนศรีศรัทธาหรือขุนศรัทธา พระม่วงทองหรือตาม่วงทอง หม่อมรอง พระยาสายฟ้าฟาด พรานบุญ แม่ศรีมาลา แม่นวลทองสำลี แม่แขนอ่อนฝ่ายขวา แม่แขนอ่อนฝ่ายซ้าย แม่ศรีดอกไม้ และแม่คิ้วเหิน
   ส่วนตายายอีกประเภทหนึ่งคือ ตายายที่เคยมีตัวตนจริง ๆ โดยผู้ที่จะเป็นตายาย และมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ลูกหลานได้ เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ จะต้องมีสถานภาพเป็นตายายโดยสมบูรณ์ ถ้าเสียชีวิตในขณะที่ยังไม่ทันมีหลานก็ไม่นับว่าเป็น "ตายาย"
   มีผู้สันนิษฐานว่า แต่เดิมชาวบ้านน่าจะนับถือเฉพาะตายาย ที่เคยมีตัวตนในโลกมนุษย์ และทำพิธีไหว้ผี เข้าทรงตายายกันมาแต่โบร่ำโบราณ จนกระทั่งการร่ายรำโนรา- -นาฏศาสตร์สายอินเดีย เข้ามาถึงคาบสมุทรสทิงพระ เมืองท่าสำคัญของภาคใต้ในยุคอดีต จึงเกิดการผสมผสาน ระหว่างความเชื่อเรื่องครูหมอโนรา และตายาย เนื่องจากโนราเองก็ต้องไหว้ครูหมอโนรา ส่วนชาวบ้านก็ต้องไหว้ตายาย เมื่อชาวบ้านหัดรำโนรา ก็เลยต้องไหว้ทั้งครูหมอ และตายาย ความเชื่อทั้งสองจึงผสมผสานกันเป็นพิธีโนราโรงครู ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นพิธีกรรมนี้มากเป็นพิเศษ
   แถวหมู่บ้านรอบทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดโนรา และมีคณะโนราอยู่หนาแน่นที่สุด

   ตายายและครูหมอโนรา ในความรับรู้ของชาวบ้าน เป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจมาก มีฤทธิ์ทั้งให้คุณและโทษแก่ลูกหลาน สามารถติดต่อกับลูกหลานได้ โดยผ่านร่างกายของลูกหลานคนนั้น ถ้าลูกหลานประพฤติตัวดี ตายายก็จะดลบันดาลให้พบแต่สิ่งดี ๆ แต่ถ้าประพฤติตัวออกนอกลู่นอกทาง เช่น คบชู้สู่ชาย หรือมีนิสัยลักขโมย รวมทั้งกรณีที่ตายาย ต้องการให้ลูกหลานคนไหนสืบทอดเป็นโนรา หรือร่างทรง ลูกหลานคนนั้นก็จะมีอาการผิดปรกติ ขึ้นมาในร่างกาย เรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า "ครูหมอย่าง" เช่น เมื่อได้ยินเสียงปี่เสียงกลอง จะต้องลุกขึ้นไปรำทันที ห้ามตัวเองไม่ได้ ต้องเป็นโนราถึงจะหาย หรือมีอาการจับไข้ไม่หาย จนกว่าจะยอมรับเป็นร่างทรงให้ตายาย เป็นต้น 
     ในวัฒนธรรมโนรา ลูกหลานจะต้องจัดพิธีโนราโรงครู เพื่อขอบคุณตายายที่ช่วยดูแลลูกหลาน ให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยพิธีจะมีขึ้นตามกำหนดเวลาที่ตกลงกับตายาย ผ่านร่างทรงในการตั้งโรงครูครั้งก่อน เช่น อีกสามปีหรือห้าปีถัดไป หรือถ้าใครบนบานศาลกล่าวเอาไว้แล้วได้ดังปรารถนา ก็จะต้องรีบแก้บนในทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงกำหนดที่ตกลงกันไว้ อย่างเช่นพิธีโรงครูครั้งนี้ เกิดขึ้นเพราะตายายไปเข้าฝันน้องสาวนางหนูพัน ที่ไปแต่งงานกับพ่อค้าชาวระยอง แล้วร้านค้าของเธอขายดีผิดหูผิดตา เธอจึงอยากจัดพิธีโรงครูเพื่อขอบคุณตายาย โดยให้นางหนูพันพี่สาว ช่วยติดต่อคณะโนรา และจัดเตรียมงานให้
   ตามปรกติ พิธีโรงครูจะมีทั้งหมดสามหรือสี่วัน แต่เนื่องจากการตั้งโรงครูแต่ละครั้ง ต้องใช้เวลาเตรียมการนาน และใช้เงินมาก ทั้งในการปลูกสร้างโรง จ้างคณะโนรา เตรียมเครื่องเซ่นไหว้ และอาหารเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน บางครั้งเมื่อถึงกำหนดเวลา ที่ตกลงกันไว้กับตายายแล้วยังไม่พร้อม ลูกหลานจะตั้งโรงครูเล็กหรือพิธีค้ำครู (เป็นพิธีแบบย่นย่อโดยใช้เวลาเพียงหนึ่งคืนกับหนึ่งวัน) ให้ก่อน เพื่อไม่เป็นการผิดสัญญา อันเป็นเหตุให้ถูกตายายลงโทษ หลังจากนั้น พร้อมเมื่อไรจึงประกอบพิธีโนราโรงครูใหญ่
   ทั้งโรงครูใหญ่และโรงครูเล็กมีลำดับพิธีกรรมเหมือนกัน ต่างกันตรงที่โรงครูใหญ่ จะประกอบพิธีกรรมทุกขั้นตอนอย่างละเอียด แต่โรงครูเล็กจะประกอบอย่างย่นย่อ คือ โนราเข้าโรงหรือเหยียบโรงในตอนบ่ายวันพุธ ทำพิธีชุมนุมครู เชิญตายายมาชุมนุมภายในโรง ตกกลางคืนมีการร่ายรำโนราให้ตายายชม เช้ารุ่งขึ้น ทำพิธีไหว้ครู ตกบ่ายจึงเชิญตายายมาเข้าทรงพบปะลูกหลาน และรับเครื่องเซ่น หากเป็นโรงครูเล็ก จะส่งครูในบ่ายวันพฤหัสบดี ส่วนโรงครูใหญ่จะส่งครูในวันศุกร์ หรือเสาร์ แต่ถ้าวันส่งครูตรงกับวันพระพอดี ต้องเลื่อนไปอีกหนึ่งวัน เพราะเชื่อกันว่าตายายจะต้องไปวัด มาร่วมพิธีส่งครูไม่ได้ 
     นอกจากโรงครูที่จัดขึ้นเพื่อไหว้ตายายแล้ว ยังมีโรงครูอีกแบบหนึ่งที่จัดขึ้น เพื่อเปลี่ยนสถานภาพโนรารุ่นใหม่ ให้เป็นโนราเต็มตัว คือ พิธีครอบเทริด หรือพิธีผูกผ้าใหญ่
   พิธีกรรมนี้จะมีขึ้นหลังจากโนราฝึกร่ายรำจนชำนาญ ครูโนราจะทำพิธีครอบเทริด- -เครื่องประดับศีรษะ ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายที่มีความสำคัญที่สุด ให้แก่โนราใหม่ หากโนรายังไม่ผ่านพิธีกรรมนี้ จะถือว่าเป็นโนราที่ไม่สมบูรณ์ หรือโนราดิบ หรือถ้าโนราคนไหนชิงแต่งงานก่อนเข้าร่วมพิธีนี้ ก็จะถูกเรียกว่า โนราราชิก หรือ โนราปราชิก โนราทั้งสองแบบจะไม่สามารถประกอบพิธีกรรมสำคัญ ๆ อย่างพิธีโนราโรงครูของชาวบ้านได้
   ด้วยเหตุที่เทริดเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ที่บ่งบอกสถานภาพโนรา ขั้นตอนการสวมเทริดในพิธีโรงครูจึง "ไม่ธรรมดา" และกลายเป็นจุดสำคัญของงานเลยก็ว่าได้ โดยโนราใหม่ จะต้องนั่งบนก้นขันเงินใบโต ซึ่งคว่ำอยู่กลางโรง ตรงกับเทริดที่ถูกผูกเชือก และชักขึ้นไปติดบนเพดาน หลังจากนั้นจึงมีคนค่อย ๆ ผ่อนเชือกให้เทริดลงครอบศีรษะโนราพอดิบพอดี เมื่อเสร็จขั้นตอน โนราใหม่ต้องร่ายรำด้วยท่าทางต่าง ๆ ที่ร่ำเรียนมาต่อหน้าครูโนราอย่างน้อยเจ็ดคน คล้ายกับเป็นการแสดงความสามารถ เพื่อขอจบหลักสูตร
   นอกจากพิธีครอบเทริด จะทำให้โนรารู้สึกว่า ตนเป็นโนราที่สมบูรณ์แล้ว พิธีกรรมนี้ยังมีผลต่อความรู้สึกของชาวบ้าน ที่ต้องการเชิญโนรามาประกอบพิธีโรงครู ให้แก่ครอบครัวของตนด้วย เพราะชาวบ้านเชื่อว่าร่างโนรา ที่ผ่านพิธีครอบเทริด เป็นร่างพิเศษเหนือมนุษย์ทั่วไป สามารถสื่อสารกับโลกวิญญาณได้ เพราะการร่ายรำโนรา เป็นความรู้ของเทพยดา ที่มาบังเกิดในร่างมนุษย์ เห็นได้จาก
   ตำนานกำเนิดโนรา ราชธิดาตั้งครรภ์ด้วยเทพยดา และเด็กน้อยที่เกิดมาก็ร่ายรำโนรา ได้อย่างสวยงาม กระบวนการหัดเป็นโนรา ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนความเชื่อนี้ เพราะท่ารำโนราต้องอาศัยพละกำลัง และความยืดหยุ่นของร่างกายสูงมาก
     ดร. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล กล่าวถึงเรื่องนี้ในบทความ "ร่างในละครชาวบ้าน" ว่า
   "...กระบวนการเป็นโนรา คือการรับเอาร่างของครูหมอโนรา เข้ามาไว้ในร่างของลูกหลาน ในเมื่อครูหมอโนรา เป็นร่างที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ทั่วไป โนราจึงสามารถทำสิ่งที่มนุษย์อื่นทำไม่ได้ เช่น สามารถขดตัวลงในถาด หรือแอ่นตัวไปด้านหลังม้วนเป็นวงกลม จนศีรษะที่สวมเทริด โผล่ออกมาระหว่างขาได้ นอกจากนั้นโนราในร่างครูหมอ หรือครูหมอในร่างโนรา ยังมีพลังที่จะสามารถจัดการ ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อร่างกายอื่นได้"
   ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเกิดความไว้วางใจให้โนรา ที่ผ่านพิธีครอบเทริด ประกอบพิธีโรงครูให้ตน เพราะหากโนรา ยังไม่ผ่านกระบวนการทำให้ร่างกายมีลักษณะพิเศษ มีความสามารถในการร่ายรำท่ายาก ๆ และมีความรู้เชิงไสยศาสตร์ สำหรับเชิญวิญญาณฝ่ายดี กำจัดวิญญาณฝ่ายร้าย การแก้บนจะไม่ขาด ครอบครัวเจ้าภาพที่เชิญโนรามาประกอบพิธี จะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง และต้องเชิญโนราคณะอื่น ที่มีความสามารถมากกว่ามาทำพิธีให้อีกครั้ง การเลือกโนรามาประกอบพิธี จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะค่าใช้จ่ายในการตั้งโรงครูทุกวันนี้ราคาสูงมาก โรงครูเล็กต้องใช้เงินประมาณหมื่นกว่าบาท ส่วนโรงครูใหญ่ใช้เงินประมาณ ๓ หมื่นบาท
   พิธีโรงครูครั้งนี้ นางหนูพันเลือกคณะโนราพนมศิลป์ ซึ่งเชิญมาประกอบพิธีแล้วหลายครั้ง ด้วยเป็นโนรารุ่นเก่า ที่มีความรู้ในการประกอบพิธีกรรมแบบดั้งเดิม หลังจากได้รับโทรศัพท์จากน้องสาวว่า ต้องการตั้งโรงครู นางหนูพันจึงนำขันหมากไปเชิญโนราพนมศิลป์ ที่บ้านในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อโนราพนมศิลป์รับขันหมากแล้ว นางหนูพันจึงตกลงค่าใช้จ่ายกับทางคณะ ซึ่งราคาจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะทาง จำนวนลูกคู่และนางรำ รวมทั้งการปลูกโรง หากต้องการให้คณะโนราปลูกโรงให้ ค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้น โรงครูครั้งนี้ฝ่ายเจ้าภาพต้องการจัดโรงครูใหญ่ ใช้เวลาสามคืนสี่วัน โดยเจ้าภาพจะปลูกโรงเอง คณะโนราพนมศิลป์ จึงเรียกค่าทำพิธีเป็นเงิน ๓ หมื่นบาท เมื่อกำหนดวันเวลาเรียบร้อย นางหนูพันก็แจ้งข่าวไปยังเครือญาติทั้งที่อยู่ใกล้และไกลจนครบ ด้วยถือกันว่าตายาย อาจไม่พอใจ หากลูกหลานไม่อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา
   ก่อนถึงวันงานสองสามวัน นางหนูพันขอแรงพวกผู้ชายในหมู่บ้าน ช่วยกันหาไม้ไผ่มาปลูกโรงโนราบนลานดินหน้าบ้านของเธอ ซึ่งใช้เป็นที่ตั้งโรงครูมาหลายสิบปี นับตั้งแต่นางได้รับเลือกเป็นร่างทรงประจำตระกูล บนลานดินไม่กี่ตารางเมตรแห่งนี้ ไม่เคยมีสิ่งปลูกสร้างถาวรใด ๆ ปรากฏเลย ยกเว้นโรงโนราที่ถูกสร้างขึ้นชั่วคราว เมื่อมีพิธีกรรมโรงครู ด้วยถือกันมาแต่โบราณว่า ผืนดินที่เคยผ่านการตั้งโรงครู คือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ลูกหลานจะปลูกสร้างสิ่งใดทับลงไปไม่ได้ นอกจากโรงโนราเท่านั้น   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กรกฎาคม 2008 11:30:36 โดย Poom CRZ#033 » บันทึกการเข้า

...ใต้ฟ้าสีคราม...
~POOMZA~
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,164


ปูม 081-7045833


ดูรายละเอียด
« ตอบ #159 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2008 11:26:58 »


๒. พื้นที่และความหมายในโรงโนรา
   อาจกล่าวได้ว่า ในพิธีโนราโรงครู พื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร ภายในโรงโนราจัดเป็นพื้นที่ที่สำคัญมากที่สุด เพราะเป็นพื้นที่ที่วิญญาณบรรพบุรุษ จากโลกหน้ากับลูกหลานในโลกนี้มาพบปะพูดคุยกันได้ ขั้นตอนต่าง ๆ ในการปลูกสร้างและตกแต่งโรง เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ที่สื่อความหมายถึงการเชื่อมต่อระหว่างโลกทั้งสอง
   เริ่มจากที่ตั้งโรงจะต้องอยู่ใกล้บ้านเจ้าภาพ เพื่อเชื่อมสายสิญจน์จากหิ้งบูชาภายในบ้าน มายังโรงโนรา หน้าโรงควรหันไปทางทิศที่ไม่ใช่ทิศตะวันตก และต้องมีพื้นที่ว่างสำหรับให้ญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านได้นั่งชม หากไม่มีพื้นที่ตามลักษณะดังกล่าว อาจขออาศัยพื้นที่ของเพื่อนบ้านใกล้เคียงก็ได้
   แม้ว่าปัจจุบันการปลูกโรงสำหรับแสดง เพื่อความบันเทิง จะวิวัฒนาการรูปแบบจากโรงติดพื้น เป็นยกพื้นสูง เพื่อให้คนดูมองเห็นผู้รำได้ในระยะไกล แต่สำหรับพิธีโรงครู การปลูกโรงยังคงมีรูปแบบและเนื้อหาแบบดั้งเดิม คือ เป็นโรงหลังคาหน้าจั่ว กว้าง ๔ คูณ ๕ เมตร ปลูกแบบไม่ยกพื้น ปูพื้นโรงด้วยเสื่อกระจูด หันหน้าไปทางทิศตะวันออก พื้นที่โรงแบ่งเป็นสองส่วน คือพื้นที่ด้านหน้าสำหรับประกอบพิธีกรรม และแสดง พื้นที่ด้านหลังใช้เป็นที่พักและแต่งตัว มีฉากท้องพระโรงเป็นม่านกั้นอาณาเขต
   พื้นที่ด้านหน้านั้น ด้านขวามือเป็นที่ตั้งของ "พาไล" หรือหิ้งยาวสูงระดับสายตา สานด้วยไม้ไผ่หรือปูด้วยไม้กระดานสำหรับวางเครื่องเซ่น ด้านซ้ายมือซึ่งอยู่ตรงข้ามกับพาไล มี "นัก" หรือ "พนัก" ทำจากเสาไม้ปักดิน ความสูงเหนือเข่าเล็กน้อย มีราวพาดด้านบนสำหรับให้ตัวแสดงนั่ง ความกว้างขนาดนั่งพร้อมกันได้ไม่เกินสองคน หันหน้าไปทางพาไลให้ตายายได้ชม
   ส่วนด้านหลังม่านซึ่งเป็นที่พักผู้แสดง จะยกพื้นสูงขึ้นมาประมาณ ๒ ศอกสำหรับให้ผู้แสดงเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว และนอนพักในตอนกลางคืน ตามคติดั้งเดิม ถือกันว่าโรงโนราเปรียบเสมือนบ้านของโนรา หากไปแสดงโรงครูที่ไหน โนราทุกคนจะต้องนอนในโรง และนายโรงคือผู้มีอำนาจสูงสุด ในการควบคุมไม่ให้สมาชิก ในคณะทำอะไรผิดธรรมเนียม และกำจัดผีอื่น ไม่ให้เข้ามาสร้างความวุ่นวายตลอดพิธีกรรมนี้   
     นอกจากนี้ ภายในโรงยังต้องมีสัญลักษณ์อีกมากมาย ที่ช่วยเชื่อมโลกมนุษย์กับโลกวิญญาณเข้าด้วยกัน ซึ่งจะขาดไม่ได้แม้แต่อย่างเดียว อาทิ "เพดาน" ผ้าขาวสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่กว่าผ้าเช็ดหน้าเล็กน้อย ห้อยลงมาจากเพดานจริง แล้วผูกสายสิญจน์โยงเข้าสู่หิ้งบูชาบรรพบุรุษบนบ้าน เพื่อให้วิญญาณบรรพบุรุษ ไต่ลงมาร่วมพิธีภายในโรง หรือ "สาดคล้า" ทำหน้าที่แทนแผ่นดินของโลกวิญญาณ ซึ่งโนราจะทำพิธีเชิญมาชุมนุมในวันแรกและส่งกลับในวันสุดท้าย โนราจะต้องระมัดระวังไม่ให้สาดคล้าผืนนี้พลิกเปิดขึ้นมาเพราะจะทำให้วิญญาณตายายไม่มีที่อยู่ แม้ว่าปัจจุบันชาวบ้านจะนำเสื่อกระจูด มาใช้แทนสาดคล้าของจริง ที่สานจากต้นคล้า เนื่องจากต้นคล้าหายากขึ้น  แต่ถ้าเป็นไปได้ชาวบ้านก็ยังนิยมใช้ "สาดคล้า" เพื่อสื่อถึงความหมายเดิม เช่นเดียวกับ "กระแชง" ซึ่งนำต้นเตยมาเย็บติดกันเป็นผืนเล็ก ๆ สื่อความหมายถึงเรื่องราวในตำนานโนราฉากพระธิดาถูกลอยแพออกจากวัง ระหว่างล่องแพนางต้องใช้กระแชงบังแดด ชาวบ้านจึงนำกระแชง มาวางบนจั่วหลังคาเพื่อแสดงเรื่องราวในตำนาน ปัจจุบันกระแชงของแท้ที่เย็บจากต้นเตยหายาก ชาวบ้านจึงนำผ้าพลาสติกมาวางบนจั่วแทน  แต่ยังคงเรียกกระแชงเหมือนเดิม เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า แม้กาลเวลาและสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปเพียงใด แต่ตำนานโนรา ความเชื่อเรื่องตายาย ยังคงถูกถ่ายทอด ผลิตซ้ำ สู่คนรุ่นใหม่ในความหมายเดิม
   นอกจากพื้นที่ภายในโรงโนรา จะถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ในเวลากลางวันแล้ว ตกกลางคืนพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตรแห่งนี้ ยังถูกเนรมิตเป็นเวทีเปิดตัวโนรารุ่นใหม่ และเป็นเวทีเผยแพร่ศิลปะการแสดง ของโนรารุ่นใหญ่ให้เลื่องลือไกล
   จวบจนพระจันทร์ลอยข้ามฟ้าล่วงเข้าวันใหม่ เสียงปี่ กลอง โหม่ง ทับ จึงราเสียง คณะโนราบอกลาคนดูและตายายไปพักผ่อน ก่อนจะตื่นขึ้นมาประกอบพิธีกรรมที่สำคัญ ในเช้าวันถัดไป   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กรกฎาคม 2008 11:31:08 โดย Poom CRZ#033 » บันทึกการเข้า

...ใต้ฟ้าสีคราม...
หน้า: [«5]  «  1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 15  »  [5»]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!