เย็นไป การสึกหรอสูงครับ
ต้องพอดี พอดีครับ
ถามน้านิดครับ น้ำมันเครื่อง นี้ ความร้อยน้อยสุดระดับไหน ถึงหล่อลื่นได้ดีที่สุด ร้อยมากสุดระดับไหนความหล่อลื่นถึงด้อยลง
จบ ออกแบบ อ่ะนะน้าแฟร มีก้อแต่ที่ค้นๆ เจอ อย่างรถผม (ไม่เคยวัดอุณหภูมิ นมค นะ)
ใช้ แก๊สแอลพีจี + หม้อน้า เหล็ก 1 ช่อง
หากวาวล์น้ำทำงานปรกติ ขับรถในสถาณการปรกติ
หม้อน้ำและพัดลม ถ่ายเทความร้อนให้ นมค ทัน
ก้อจะไม่เจอปัญหาอะไร
ที่แฟร ถามผมว่า
"ความร้อยน้อยสุดระดับไหน ถึงหล่อลื่นได้ดีที่สุด ร้อยมากสุดระดับไหนความหล่อลื่นถึงด้อยลง"ความร้อน น้อยสุด บ้านเรา ไปไม่ถึงอ่ะน้าแฟร์ -39 เซลเซียสแหน่ะ ถึงจะแข็งตัว ไม่ใหลดังนั้น เครื่องเย็น ไม่มีผลต่อการสึกหรอ เพราะเย็นไม่ถึง -39ส่วน ความร้อนสูงสุด ไม่ได้มีระบุไว้
แต่ยิ่งร้อน ยิ่งหนืดน้อย แรงยึดเกาะต่อชิ้นส่วนน้อย
ชั้นน้ำมันเครื่อง ที่เป็นฟีล์ม เคลือบชิ้นส่วน
จะบางลง จนไม่สามารถหล่อลื่นได้ มีกรณีเดียวคือ ระบบ ถ่ายเทความร้อนล้มแหลวในกรณี ซวยๆ แบบนั้น
เครื่องที่มี ความหนืดในช่วง ซัมเมอร์ (เลขชุดหลัง) เยอะๆ 50 -60 จะลาโลก ช้ากว่า 30-40ขอบคุณ การให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ จาก ฝ่ายเทคนิค ปตท + เชลส เฮลิคส์ ครับปล.
เลขบน ฉลาก นมค
0w - 40
0W ก้อเปน วินเทอร์แกรด (อุณหภูมิต่ำสุด)
40 เปน ซัมเมอร์ แกรด (ค่าความใส/ความหนืดที่ อุณหภูมิสูง)
--------------------------------------------------------------------------
ข้อความจาก
http://www.civicesgroup.com/forum/topic26523 ขอบคุงคร๊าบ
น้ำมันทุกชนิดจะมีความหนืด หรือที่เราเรียกว่า ความข้นเหนียว โดยธรรมชาติ
ความหนืดนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ
เช่น เมื่อได้รับความร้อนน้ำมันจะใส และ
เมื่อได้รับความเย็นน้ำมันจะข้น
ความหนืดของน้ำมันจะมีหน่วยวัดเป็น เซนติสโตรก
โดยหลักการวัดค่าความหนืดนั้น ถ้าพูดกันอย่างง่ายๆ
จะนำน้ำมันปริมาณ 60 cc. มาทำให้ร้อนที่ 100 C
บรรจุใส่ในหลอดแก้วที่มีรูขนาดเล็กทางด้านปลายหลอด
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มม เพื่อปล่อยให้น้ำมันไหล
แล้วจับเวลาว่าปริมาณน้ำมัน 60 cc . นั้นจะไหลหมดภายในกี่วินาที
จากนั้นจึงนำไปคำนวณเพื่อหาค่าออกมาเป็นเซนติสโตรก แล้วเทียบว่าเป็นน้ำมันเบอร์ความหนืด SAE อะไร
SAE ย่อมาจาก The Soceity of Automotive Engineer
ซึ่งเป็นสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาโดยที่ SAE
จะเป็นผู้กำหนดเบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่อง
โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ น้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาวและน้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูร้อน
โดยที่เบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่องในกลุ่มฤดูหนาว จะมีตัว W ซึ่งย่อมาจาก Winter ต่อท้าย
เบอร์ความหนืดในกลุ่มนี้ ได้แก่ 0W,5W,10W,15W,20W,25W
และวัดค่าความหนืดที่อุณหภูมิ -30 C ถึง - 5 C เบอร์ที่น้อยจะใสและเบอร์ที่มากกว่าข้นกว่า
ส่วนใหญ่ความหนืดสำหรับน้ำมันในกลุ่มฤดูร้อน
ได้แก่ SAE 20,30,40,50,60
โดยวัดค่าความหนืดที่ 100 C เช่นเดียวกัน
เบอร์ที่น้อยจะใสและเบอร์ที่มากจะข้น
ในอดีตนั้นผู้ใช้รถจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามฤดูกาลที่เปลี่ยนไป เช่น
เมื่อถึงฤดูหนาว(-15C) ก็จะต้องใช้น้ำมันเครื่องเบอร์ที่มี W ต่อท้าย ซึ่งเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับฤดูหนาว
และเมื่อถึงฤดูร้อน(25C)ก็ต้องถ่ายน้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาวออก
เนื่องจากน้ำมันจะใสเกินไปไม่เหมาะกับการใช้งานในฤดูร้อน และเปลี่ยนมาใช้น้ำมันสำหรับฤดูร้อนแทน
ซึ่งเป็นการยุ่งยาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาน้ำมันที่เรียกว่า น้ำมันมัลติเกรดขึ้นมาเพื่อให้ใช้ได้ตลอดทั้งปี
สำหรับในบ้านเราเบอร์น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมนั้นมีหลายเบอร์ด้วยกันสามารถใช้ได้ทั้งนั้น แต่ที่
นิยมใช้กันมาก ได้แก่เบอร์ SAE 15W/40 และ 20W/50
แต่ถ้าจะใช้เบอร์ต่างไปจากนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร
ขอให้เบอร์ความหนืดในช่วงฤดูร้อนเป็นเบอร์ 30 ขึ้นไปก็ใช้ได้
-------------------------------------------------------
จากที่โทรคุยกะช่างเทคนิค ปตท นะ
อุณหภูมิที่เหมาะสม ต้องดูอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง
แล้ว มาเลือก น้ำมันเครื่องให้เหมาะ แกจะหารายละเอียดเมลให้ผมอีกที
---------------------------------------------------------