สตาร์ทเครื่องใหม่ๆ รอบเดินเบาต่ำมาก ประมาณ 400-500 rpm (ปกติประมาณ 800-900 rpm อ้อ เครื่อง 2E นะครับ)
นั่งรอเกือบ 5 นาที รอบก็ไม่ขึ้น เมื่อก่อนผมรอแค่สองนาทีมันก็ขึ้นมาระดับปกติแล้ว
เอาออกไปวิ่งเลยก็วิ่งได้ครับ แต่ถ้าเป็นตอนกลางคืน เมื่อเปิดไฟใหญ่กับเหยียบเบรคพร้อมกัน มันทำท่าจะดับมิดับแหล่
ใช้งานมาประมาณ 40,000 กม. (ผมไม่ได้นับไว้แน่นอน แต่เปลี่ยนน้ำมันเครื่องไป 6 ครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 6000 กม. ตอนนี้กำลังจะได้เปลี่ยนครั้งที่ 7)
ถ้าเครื่องร้อนแล้วปกติครับ ไม่มีปัญหาอันใด
ผมหาช่างตั้งวาวล์ไม่ได้เลย(แถวเกษตร) ช่างที่รู้จักกันก็ซ่อมเป็นแต่ฮอนด้า
พี่แกก็พูดหมาๆว่าใช้ๆไปเถอะ พังเมื่อไหร่ก็ยกเครื่องเปลี่ยน (พูดมาได้ไงวะ)
ปล. หม้อต้มถอดมาล้าง เปลี่ยนชุดซ่อมเมื่อประมาณ 25,000 กม. ไม่น่าเกี่ยว (Tomasetto 140HP)
ดูแลตามระยะทาง ที่เคยบอกไปก็น่าจะเกินพอครับ แต่เท่าที่อ่าน ขับลูกเดียว ไม่ค่อยดูแลมันเลย ตั้งวาวล์ตั้งที่ศูนย์โตโยต้าที่ไหนก็ได้ครับ ค่าบริการไม่กี่บาทหรอก ผมใช้โตโยต้ามาตั้งแต่รุ่น ๒.๔๕ เบอร์รินอายสี่ประตู(ก่อนไมตี้) ก็เอาเข้าศูนย์ตลอด ตั้งวาวล์เหมือนกับเครื่องสองอีนี่ล่ะ อย่าไปซีเรียสเลยครับ สำหรับช่างที่มันบอกใช้ๆไป เสียก็เปลี่ยนเครื่อง ก็อย่าเข้าไปอู่มันอีกครับ เครื่องสองอี เป็นตำนานครับ ผมว่าทนกว่าสีเอเอฟอีที่ผมใช้ซะอีกครับ ทุกวันนี้ผมยังเก็บรักษาเจ้าเครื่องนี้ที่ยกลงไว้เป็นอย่างดี รอวันดีคืนดี จะยกขึ้นประจำการในเรโนล์อาร์๑๙ ชาเมท ที่ปลอดระวาง(ไม่ได้เสีย จอดปลดระวางเฉยๆ)มากว่าสามปี แล้วทำอย่างดี ทีนี้ก็ปลุกผีเจ้าเรโนลต์คืนชีพ ในหัวใจโตโยต้า ตัดปัญหาเรื่องการเช็คตามระยะหมดสิ้นไป เรโนลต์มันรถแข่งครับ ต้องเช็คตามระยะอย่างเคร่งครัดเลย เช่นทุกๆ ห้าพัน ทุกๆหนึ่งหมื่น ทุกๆ สามหมื่น และทุกๆห้าหมื่น อันหลังนี่เปลี่ยนเกือบทั้งเครื่องเลยครับ ผมถึงมีเครื่องยนต์เรโนลต์อยู่สามลูกพร้อมเกียร แต่มันเบื่ออีตอนที่วิ่งๆ เด๋วมันก็ห้าหมื่น บางทีปีหนึ่ง ยกขึ้นยกลงสองครั้งเกือบสามก็มี แล้ววิ่งแป๊ปเดียวมันก็ครบระยะที่ต้องเช็คอย่างเคร่งครัด ไม่เหมือนโตโยต้า วิ่งไปดูแลทิ้งๆขว้างๆได้ครับ แต่เจ้าเกเรที่เอ่ยถึงไม่ได้ครับ มีสิทธิได้นอนข้างทางกินข้าวลิงสูงสุดทีเดียว และค่าดูแลที่สูงของมัน ทำให้ผมต้องตัดใจปลดระวางเลิกใช้ หันมาคบกับสามห่วงแทน ซึ่งสามเดือนแรก ก็ทำใจแทบไม่ลง เรื่องระบบกันกระเทือน กระบบการทรงตัว แฮนเดอร์ริ่ง กว่าจะปรับตัวได้กับสามห่วงก็เกินสามเดือนครับ มันกระด้างผิดกันลิบเลย พูดง่ายๆก็คือ อันหนึ่งเป็นตีนตุ๊กแก เกาะหนึบนิ่มนิ่ง ทุกๆความเร็ว ยิ่งระดับเกินร้อยสี่สิบขึ้น เทียบได้กับสามห่วงตอนวิ่งที่ประมาณหกเจ็ดสิบ แมร่งห่างกันลิบจริงๆ แต่พอใช้ๆๆไปๆๆๆ ที่เราเคยใช้ไปซ่อมไป กลับไม่มีปัญหาข้อนี้ ไม่มีเลยครับ แค่ผมต้องหมั่นเช็ควาวล์ทั้งสิบสองประมาณสองหมื่น หรือบางครั้งเดินทางมากอาจจะเกินไปมั่ง แต่ไม่เคยเกินสามหมื่นนะ แล้วทุกครั้งที่เช็คก็จะเปลี่ยนหัวเทียน แล้วก็เอาจานจ่ายมาทำความสะอาด ดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนฝาจานจ่ายไปทีครับ มันสึกมาก ราคาแค่หลักร้อยเองครับ อะไหล่มันถูกกว่าเรโนลต์ประมาณสิบถึงสามสิบเท่าครับ ตรงนี้ต่างหากที่ผมเริ่มดวงตาเห็นธรรม ใช้รถยุโรปมาตลอดเกือบๆยี่สิบปี ยิ่งโดยเฉพาะไอ้ตัวพี่ เรโนลต์อาร์ ๒๑ (สิบสองวาวล์เหมือนสองอี) ตัวนี้แสบสันต์ แมร่งคอมพิวเตอร์ทั้งคันเลยครับคัมรี่ทุกวันนี้ยังตามหลังมันเลยครับ แค่เราบิดกุญแจ คอมพิวเตอร์มันก็คำนวนให้เรา บอกน้ำมันเป็นลิตรที่เหลือในถัง บอกระยะทางที่จะหมดหรือที่จะวิ่งไปได้เป็นกิโล บอกอุณหภูมิภายนอกห้องโดยสาร บอกอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงว่ากี่ลิตรต่อร้อยกิโลเมตร บอกความเร็วเป็นดิจิตอลคู่กับเข็มไมล์ และยังลูกเล่นอื่นๆอีกซึ่งรถรุ่นใหม่เพิ่งจะมี ค่าดูแลมันเฉพาะเดือนประมาณเดือนละ๒๐เคขึ้น เสียก็เปลี่ยนสถานเดียว ไม่มีซ่อมแบบสามห่วง เช็คเมื่อไรก็มีปากเสียงกับผบ.ทบ.แทบทุกครั้ง แต่ไม่ถึงทะเลาะกันหรอก แค่บ่นๆๆๆๆๆเท่านั้น สุดท้ายก็จอดก่อนเจ้าอาร์ ๑๙ หลายปีเลยประมาณสองปีได้มั๊ง แล้วก็ขายซากไปแค่สามร้อยห้าสิบเคแต่ค่าตัวบวกค่าดูแลมันที่ผ่านมาเป็นหลักเอ็ม ทั้งที่ซากที่ว่านั้นตัวถังยังดีเกินเก้าสิบเปอร์ ตอนนั้นเราคิดแค่ไม่เอาหัวใจญี่ปุ่นใส่ หากเป็นวันนี้ยังคิดเสียดายเลยครับ ผมคงยัดเจ้าสามเอสเทอร์โบไปแล้ว คงแรงพอกับเครื่องเดิมมัน เจ้าอาร์ ๒๑ ตีนปลายมีระดับเกิน ๒๓๐ ครับ กดแช่เผลอแป๊ปเดียว ไหลขึ้นถึงเลยครับ ตอนผมใช้อยู่ในถนนหลวงประเทศนี้ รบได้กับทุกรุ่นเลยครับ ขนาดเมอร์ซิเดส ๓๐๐ อี ในยุคนั้น ว่าแน่แล้ว ยังตามดูไฟท้ายเจ้าจิ๋วไม่เห็นครับ(อาร์๒๑) ทิ้งขาดตั้งแต่ออกตัวเลยครับ ๐-๑๐๐ เคยจับเล่นๆ ประมาณ ๗ วินิดๆ เองครับ แต่ต้องแลกมาด้วยค่าดูแลที่สูงลิบครับ วันนี้เลิกขับรถเร็วแล้ว(ไม่เกิน๑๖๐) แต่เมื่อก่อน ๒๐๐ ประจำครับ ผมวิ่งอุบล โคราช ไม่เคยเกิน ๒ชั่วโมงครึ่งครับ วันนี้เร็วสุดสี่ครึ่งถึงห้ากว่าๆครับ ลองนึกดูว่าเปลี่ยนไปขนาดไหนกะเมื่อก่อน โคราช ขอนแก่น(สี่เลนส์) เคยทำสถิติ ๕๘ นาทีครับ เฉลี่ย ๒๐๐ อั๊พครับ ระยะทาง ๑๗๐ กิโล ตั้งแต่ลงข้างทางที่ความเร็วระดับ ๑๖๐ เมื่อปี ๒๕๔๗ ก็เลิกท้าพยายมตั้งแต่วันนั้นครับ ค่าซ่อมรถในครั้งนั้น ๑๒๐ เคครับ ลองนึกดูว่ามันจะพังเสียหายขนาดไหน ล้อหน้า ล้อหลังขาดออกเลยครับ ขนาดเหล็กมันหนากว่าญี่ปุ่นสามเท่า แต่คนขับ(ผม) ไม่เป็นอะไรแม้แต่รอยแมวข่วนครับ สายเบลมันรั้งเรายังกะมีมือที่สามมากอดเราให้ติดกับเบาะตลอด เบาะของมันก็ให้เรคาโร่ทำให้ครับ นั่งสบายกว่าเบาะไฟฟ้าของเรวิ่นที่ประจำการในสามห่วงของผมสามเท่าครับ
วันนี้พอแล้ว คบกับสามห่วง ทิ้งชมรมเรโนลต์ที่เคยไปร่วมก่อตั้งสร้างมากับมือในรุ่นแรกๆ มาอาศัยบ้านนี้แทน อบอุ่นดีครับ ผมไปหลงยึดติดกับรถยุโรปนานมากเกินไป จนลืมนึกถึงข้อดีของรถญี่ปุ่น ทุกอย่างมีสองด้านเสมอครับ ไม่มีอะไรมีแต่ดี ไม่มีเสีย ข้อดีของรถญี่ปุ่นคือ ดูแลง่ายกว่าครับ ฟ้ากะเหวเลย แต่ยุโรปมันออกแบบมาเพื่อให้เป็นทาสมันครับ ต้องเข้าศูนย์สถานเดียว ยกตัวอย่างแค่คุณถ่ายน้ำมันเกียรโอโต้ ในเจ้าจิ๋ว(อาร์๒๑) หากไม่มีความรู้จะไม่สามารถทำเองได้เลย แต่เจ้าเจดีย์ ผมแค่มุดลงไปทำไม่เกินสามสิบนาทีก็เสร็จเรียบร้อย แล้วเกียรมันทนกว่าสิบเท่าหรือมากกว่าครับ หมายถึงเกียรของสี่เอเด้อ เกียรของเรโนลต์ มันก็เกียรของเอาดี้ขับสี่ฟูลไทม์นั่นล่ะหรือในยุคนั้นเขาเรียกว่าควอทโต้นั่นล่ะ เครื่องวางขวางขับหน้า แต่เกียรดันวางเกียรแบบระกระบะขับหลัง ใครไม่เคยเห็นก็เป็นอะไรที่ออกแบบมาให้ต่างจากบ้านจากเมืองเขาเหลือเกิน แรงม้ามันก็วัดที่ล้อ ที่เกียรสุดท้ายครับ หากเป็นเครื่องญี่ปุ่นผมไม่รู้เท่าไร ตัวเลขแมร่งก็ถ่อมตัวฉิกหอย แต่พอใช้งานจริง รถญี่ปุ่นที่ว่าแต่งมาเป็นแสน ยังไล่มันไม่ทัน สมกับมันได้แชมป์โลกหลายสมัยจริงๆ แต่ดันเปราะฉิกเป๋ง ต้องดูแลประคบประหงมตลอด เรื่องจุกจิกแล้วโตโยต้ากินขาดครับ แต่เรื่องการทรงตัว ยังห่างไกลลิบลับเลย คนละเรื่องจริงๆ ใครไม่เคยลองไม่รู้ ผมโง่มายี่สิบปี ตอนนี้หายโง่แล้ว สามห่วงนี่ล่ะ ถึงมันกระด้าง ก็ยังดีกว่ากระบะล่ะ เหอะๆๆๆ
ดูแลเขาดีๆครับ แค่คุณโอเวอร์ฮอล ก็ได้อะไหล่ใหม่ เท่ากับเครื่องยนต์ใหม่ด้วย แต่จะมีตรงพวกท่อทางต่างๆที่เป็นมีเนียม มันกร่อนครับ ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่จึงจะใช้ได้ดี ผมวิ่งจนท่อตรงวาวล์น้ำกร่อนทะลุออกมาเลยครับ แต่ช่างที่ร้อยเอ็ด ก็ตัดสังกะสี กับกาวอีพ็อกซี่ อัดลงไป ใช้มาตลอดนับแสนกิโล ก็ไม่มีปัญหาอะไร แบบว่าทั้งร้อยเอ็ด มันหาอะไหล่ตัวนี้ไม่ได้ครับ มีแต่ของเครื่องสี่อี ซึ่งต่างกัน ผมกล้ายืนยันเลยว่า เครื่องสองอี เป็นเครื่องยนต์ในตำนานเครื่องหนึ่ง ที่มนุษย์ผลิตมา อึด ทน ดูแลง่าย ไม่เสียเวลา เทคโนโลยีก็ไม่ล้าหลังมาก เว้นแต่ตัวที่วางใน๙๐ นะ คอยมันจะเป็นทองขาวอยู่ แต่ตัวที่วางในเออี คอยเป็นซีดีไอแล้ว เหมือนกับสี่เอหากดูภายนอก รุ่นนี้ล่ะที่ผมยกลงแล้วเก็บไว้รอเวลาเท่านั้น เขาศูนย์ไปเลยครับ จบแน่ แต่ถ้าศูนย์ไหนบอกต้องเปลี่ยนนั่นเปลี่ยนนี่ ก็ให้ชะลอไว้ก่อน กรุให้มิงตั้งวาวล์ให้อย่างเดียวพอ ไม่กี่ร้อยหรอกครับ เขาไปโลด ที่เหลือก็ออกมาทำอู่ข้างนอกเอาครับ