เมื่อหลายปีก่อนผมใช้งานรถเก๋งอยู่คันหนึ่ง รถคันนี้ติดแกส LPG ทำเฮดเดอร์แบบ 4:2:1 มา แถมด้วยหม้อพักทุกลูกเป็นไส้ตรงอีก ถึงแม้จะเป็นเกียร์ธรรมดาแต่ก็ขับยากมา ยากในช่วงรอบต่ำเพราะเรี่ยวแรงหายหมด (เรี่ยวแรงจะดีเฉพาะรอบสูง แต่ใครจะลากรอบสูงตลอด ยังไงรอบเครื่องก็จะต้องกวาดขึ้นไปจากรอบต่ำอยู่เสมอ ) อาการรอบต่ำไม่มีแรงจะทำให้เราต้องขับแบบคอยเลี้ยงคันเร่งไว้ที่รอบสูงๆ และในจังหวะที่ต้องกดคันเร่งก็จะต้องรีบกด และก็ต้องรีบเบรคด้วย (เพราะกว่าเรี่ยวแรงจะมาจะใช้เวลานาน พอแรงมาคันหน้าเบรคจะจอดแล้ว)
ผมแก้ปัญหานี้ด้วยการออกแบบท่อที่ทำการบีบและขยายรูท่อได้แบบแปรผัน ขณะที่ออกแบบก็คิดว่ามันต้องได้ผล (เพราะเคยมีประสบการณ์เรื่องท่อไอเสียมาพอสมควร รู้ว่าถ้าท่อโล่งช่วงรอบต่ำจะไม่ดี/ไม่ว่าเครื่องเบนซินหรือดีเซลเทอร์โบ) ออกแบบเสร็จก็ไปจ้างร้านทำขึ้นมา แล้วจึงไปจ้างร้านท่อไอเสียทำการติดตั้ง
ติดตั้งเสร็จลองวิ่งใช้งานดู สัมผัสแรกก็โอเคเลยครับ เรี่ยวแรงขึ้นมาในระดับที่น่าพอใจเลย จากที่ว่ารอบต่ำแย่มาก ก็กลายเป็นรอบต่ำที่ไหลๆ
ต่อมาซื้อ mazda 2 1.5 MT ป้ายแดงมาก็เจอปัญหารอบต่ำไม่ดีอีก เวลาออกตัวช้าๆ เคยกระตุกดับบ่อยครั้ง เวลาขับคลานขึ้นเนินนี่ต้องระมัดระวังให้ดีอย่าเผลอ
ปัจจุบันมาใช้ captiva 2.0 awd (2.0 diesel turbo) คันนี้ก็คล้ายๆกับ mazda 2 1.5 MT ถึงแม้ว่าจะเป็นเกียร์ AT ไม่ต้องยุ่งกับดลัชก็ขับลำบากในรอบต่ำเช่นกัน กดคันเร่งไปแล้วแต่รถไม่ได้มีอาการพุ่งทันทีตามเท้า ทำให้เวลาขับตามๆ กันในเมืองค่อนข้างคอนโทรลลำบาก ปัจจุบันใส่ท่อ VCE อยู่เวลาจะออกตัวจากเดิมที่ต้องไปกดคันเร่งจึงจะเริ่มเคลื่อนตัวก็ทำเพียงคลายการกดแป้นเบรคเล็กน้อยรถก็เริ่มเคลื่อนตัวแล้ว
นั่นเป็นเรื่องของประวัติความเป็นมาและเป็นไปของท่อ VCE
ตามประสาของคนที่ชอบคิดโน่นคิดนี่อยู่ตลอด ในช่วงที่ผ่านมาราวๆปีหรือสองปีที่ผ่านมานี้ผมได้คิดโปรเจคอย่างหนึ่งขึ้นมา เพื่อตอบสนองความชอบของผมเองซึ่งอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับท่านทั้งหลายก็ได้ เนื่องจากผมเป็นคนชอบฟังเพลงกับชุดเครื่องเสียงภายในบ้าน ตามประสาของผมอะไรที่ผมทำเองได้ก็จะทำมันครับ (เครื่องเล่น CD ปรีแอมป์ แอมป์ หรือ อินติเกรเต็ดแอมป์ผมจะซื้อเครื่องสำเร็จมาครับแต่ตู้ลำโพงผมจะทำเอง)
ลืมบอกท่านไป อาชีพดั้งเดิมของผมคือนักทดสอบเครื่องเสียงครับ ทำงานครั้งแรกที่ Hi-FI STEREO ในฉายา ลักษณ์พิจารณ์ (คุณพิพัฒน์ คคะนาทตั้งให้) และชื่อจริง
พิชลักษณ์ และถัดจากนั้นทำฟิแลนซ์อยู่ในเครือของ WHAT HIFI และมีบางบทความที่ STREO และฯลฯ สุดท้ายไปประจำอยู่ที่ GM2000 อยู่พักใหญ่ๆ ในชื่อ พิชลักษณ์-เสริมชัย สุดท้ายก็ลาออกไปครับ
รวบรัดสั้นๆ คือเคยมีอาชีพคลุกคลีอยู่กับเครื่องเสียงและลำโพงมาหลายปี ลืมบอกไปอีกนิด สมัยที่ทำงานทดสอบเครื่องเสียงและลำโพง ลำโพงที่ใช้เป็น reference ผมก็ทำมาใช้งานเองครับ เป็นแบบวางขาตั้ง ไดร์เวอร์มิดเบสขนาด 5 นิ้วเศษไดร์เวอร์เสียงแหลมขนาด 3/4 นิ้ว (สแกนสปีคทั้งคู่) ตู้ออกแบบเป็นแบบ time alighment ครอสส์ใช้แบบ 1th order มีท่อระบายหลังตู้ ที่บ้านก็ทำเป็นตู้ลำโพงวางพื้น ไดร์เวอร์ 8 นิ้วสองทาง วางไดร์เวอร์แบบ time alighment และ ครอสส์ก็แบบ first order เช่นกัน
ปัจจุบันลำโพงวางพื้นยังอยู่แต่ใช้งานไม่ได้เพราะผมทำไดร์เวอร์เสียงแหลมข้างหนึ่งชำรุด (ทำหล่นลงพื้น) ส่วนลำโพงวางขาตั้งผมเอาไปวางไว้ไหนแล้วก็ไม่รู้ครับ นอกจากนั้นผมยังมีลำโพงวางขาตั้งขนาดเล็กๆ ใช้ไดร์เวอร์ 4 นิ้วอยู่อีกคู่หนึ่งครับ ทีนี้ไอ้เจ้าตัวเล็กนี่เนื่องจากขนาดที่เล็กของมันก็เลยจะหวังเอาเบสลึกๆจากมันก็ไม่ได้ เลยเป็นที่มาให้ผมได้คิดโปรเจคที่จะทำลำโพงวางขาตั้งที่ให้เบสที่ลึกกว่านั้นขึ้นมา
ก่อนจะทำโปรเจคลำโพงวางขาตั้งตัวล่าสุดขึ้นมา ผมได้วางเค้าโครงไว้คร่าวๆก่อนแล้วว่า ต้องเลือกใช้ไดร์เวอร์ที่ชั้นดีหน่อยแล้วทำการอัพเกรดมันขึ้นไป ออกแบบตู้ให้เป็นแบบ time alighment และออกแบบครอสส์แบบ 1 th order เช่นเดิม และอุปกรณ์ทุกชิ้นตรวจสอบทิศทาง (โดยการฟัง) ทั้งหมดก่อนติดตั้ง เพื่อให้ประกอบเข้าไปแบบถูกทิศถูกทางทั้งหมด ไม่มีการละเลยหรือประมาทในจุดใด
ในช่วงแรกมีเพียงไดร์เวอร์เท่านั้นที่อัพเกรดขึ้นไปอย่างเต็มที่ (เพราะลงมือ modify เองเลยครับ) อุปกรณ์อื่นๆ เช่น inductor , capacitor, resistor ยังใช้อุปกรณ์ระดับมาตรฐานทั่วไปก่อน (ค่อยอัพเกรดภายหลัง ซึ่งทำได้ไม่ยาก) การออกแบบครอสปัจจุบันง่ายมากค้นจากอินเตอร์เน็ตได้ เพียงแต่คุณต้องมี DATS เพื่อใช้วัดค่า TS parameter
ที่แท้จริงของไดร์เวอร์ก่อนครับ เพราะค่าที่ให้มาจากโรงงานส่วนใหญ่จะคลาดเคลื่อนครับ แล้วก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญใช้ในการตรวจสอบระหว่างที่กำลังทำการ modify ไดร์เวอร์ครับ การออกแบบตู้ปัจจุบันก็สะดวกแล้วค้นจากอินเตอร์เน็ตเช่นกันครับ แต่สุดท้ายก็ต้องใช้การฟังในการเลือกขนาดตู้ที่ลงตัวที่สุดครับ การออกแบบครอสส์ก็เช่นกัน สุดท้ายก็จบที่การฟังครับ ขั้นตอนเหล่านี้จะใช้เวลามากครับ (นานช้าขึ้นอยู่กับเวลาในการเบิร์นด้วยและการแก้ปัญหาและประสบการณ์ของผู้ออกแบบด้วยครับ)
ปัจจุบันโปรเจคลำโพงวางขาตั้งตัวล่าสุดอยู่ในระหว่างการฟังทดสอบครับ ผ่านขั้นตอนครอสส์และการแมทช์ตู้ไปแล้ว (ไดร์เวอร์เสียงแหลมยังไม่ได้ modify แต่จากการทดสอบเสียงก็อยู่ในระดับมาตรฐานชั้นดี แต่สุดท้ายก็คงต้อง modify มันครับ เพราะตอนที่ทดสอบเปรียบเทียบวัดค่า THD (ทอร์ทอลฮาร์มอนิคดิสทอชั่น หรือ ความเพี้ยนทางความถี่คู่ควบโดยรวม) ช่วงความถี่ใกล้จุดตัดจะมีความเพี้ยนสูงกว่าไดร์เวอร์พื้นๆ ที่ได้ทำการ modify ไปแล้วพอสมควรครับ และด้วยเสียงฉาบที่สะอาดชัดเจนและพริ้วอย่างเหนือชั้นกว่าของตัวโดมที่ผมใช้ reference อยู่ที่ดีกว่าอย่างชัดเจนนั้นทำให้สุดท้ายผมต้องทำการ modify มันครับ.
คราวต่อไปผมจะเอาผลการวัดทดสอบเปรียบเทียบระหว่าง dome tweeter ทั้งสองครับ (ไดร์เวอร์พื้นๆ ที่ modify แล้ว กับ ไดร์เวอร์เดิมๆ โรงงานชั้นดี) และคราวต่อไป before vs after modify dome tweeter ครับ