สวัสดีเช้าวันอังคารครับ
พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระประจำ วันอังคาร
หรือบางทีก็เรียก ปางปรินิพพาน เป็น พุทธประวัติตอนที่พระพุทธองค์ได้รับสั่งให้พระจุนทะเถระปูอาสนะลงที่ระหว่าง ต้นรังคู่หนึ่ง แล้วทรงประทับบรรมทมแบบสีหไสยา ตั้งพระทัยไม่เสด็จลุกขึ้นอีก แต่ก็ยังได้โปรดสุภัททะปริพาชกเป็นอรหันต์องค์สุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าถึงปางนี้อีกนัยหนึ่งคือ เมื่อทรงโปรด อสุรินทราหู หรือ พระราหู ด้วยอิริยาบทแบบสีหไสยานี้ กล่าวคือ ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร อสุรินทราหู ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับคำสรรเสริญถึงพระเกียรติคุณของพระบรมศาสดาจากสำนักเทพยดาทั้งหลาย ก็มีความปรารถนาอยากจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง แต่ก็คิดคำนึงไปเองว่า พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ ดังนั้น คงต้องมีพระวรกายที่เล็ก หากตนจะไปเฝ้าก็จะต้องก้มมองเป็นความลำบากมาก อีกทั้งตนก็ไม่เคยก้มเศียรให้ใคร คิดแล้วก็ไม่ไปเฝ้า ต่อมาได้ยินพวกเทวดาสรรเสริญพระพุทธองค์อีก ก็เกิดความอยากไปเฝ้าอีก จึงวันหนึ่งได้ตั้งใจไปเฝ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบด้วยญาณ รวมทั้งทราบถึงความในใจของอสุรินทราหู จึงทรงเนรมิตพระวรกายให้ใหญ่โตกว่ากายของอสุริทราหูหลายเท่าขณะเสด็จบรรทมรอรับ ดังนั้น เมื่อมาเข้าเฝ้า แทนที่อสุรินทราหูจะต้องก้มมอง กลับต้องแหงนหน้าดูพระพุทธองค์ จึงเกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนว่า ข่าวลือหรือเรื่องใดๆหากไม่เห็นด้วยตนเอง หรือยังไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ ก็ไม่ควรติชมไปก่อน อีกทั้งได้พาอสุรินทราหูไปเที่ยวพรหมโลก ได้เห็นบรรดาพรหมที่มาเฝ้ามีร่างกายใหญ่โตกว่าตนทั้งสิ้น แต่พระพุทธเจ้าก็ยังมีพระวรกายใหญ่กว่าพรหมเหล่านั้นอีก อสุรินทราหูจึงลดทิฐิและหันมาเลื่อมใสในพระบรมศาสดา
Reclining Buddha
Left arm along the body, right arm serves as a pillow with the hand supporting the head.
Story : The giant Asurindarahu wanted to see the Buddha, but was reluctant to bow before him. The Buddha, while lying down, presented himself as much larger than the giant. He then showed him the realm of heaven with heavenly figures all larger than the giant. After all this, Asurindarahu, the giant, was humbled, and made his obeisance to the Buddha before leaving.
วันอังคาร มีดาวอังคารที่มีอิทธิพลต่อชะตา จัดเป็นดาวฆาตหรือดาวมรณะ และยังเป็นดาวเกี่ยวกับสงคราม อุบัติเหตุ ดังนั้น การจัดปางไสยาสน์หรือปางปรินิพพานประจำวันนี้ จึงเหมือนเตือนสติให้คนวันนี้ดำรงชีวิตด้วยความระมัดระวัง ไม่ไปก่อเหตุกับใคร อีกทั้งวันที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานก็เป็นวันอังคาร และพระปางนี้ยังมีเรื่องที่ทรง โปรดพระราหู อันน่าจะหมายรวมถึงการขจัดความมัวเมาลุ่มหลง เห็นผิดเป็นชอบ ที่เป็นลักษณะของราหูด้วย
คาถาบูชาพระประจำวันนี้ได้แก่
ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท
สวด ๘ จบตามกำลังวันอังคาร
สังโยชน์ ๑๐ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมหรือสิ่งที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์, สิ่งที่ผูกมัด ร้อยรัดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ผูกติดอยู่กับความทุกข์ทําให้ไม่สามารถสลัดหลุดออกมาได้ อันมี ๑๐ ประการ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. กามราคะ
๕. ปฏิฆะ
๖. รูปราคะ
๗. อรูปราคะ
๘. มานะ
๙. อุทธัจจะ
๑๐. อวิชชา
http://www.m-culture.go.th/ilovethaiculture/index.php/2013-07-01-03-11-16/2013-08-07-06-46-24/item/พระพุทธรูปประจำวันเกิด
___________________________
เอาของดีมาฝากครับ (ได้มาจากเพื่อน) สำหรับท่านที่นับถือศานาอื่นก็ให้ยึดมั่นทำดีต่อไป จงอดทนแม้ผลดีจะเกิดช้าหน่อยครับ/ พี่พรท่อ VCE 0851423903 ไลน์ ไอดี phorn_