ท่อไอเสีย VCE ปรับขนาดรูท่อแบบแปรผันติดตั้งเพิ่มเพื่อเพิ่มแรงบิดช่วงรอบต่ำและรอบกลางโดยรอบปลายไม่ด้อยลง
ท่อไอเสีย VCE ออกแบบให้มีลิ้นเปิดขึ้นลงในแนวดิ่ง ติดตั้งอยู่ภายในท่อของท่อ VCE ลิ้นนี้ที่รอบเครื่องเดินเบา ลิ้นจะหรี่ลงมาให้ไอเสียไหลผ่านเพียงเล็กน้อย (ไม่มีการปิดสนิทแบบลิ้นปีกผีเสื้อ) ซึ่ง ไอเสียจะไหลผ่านได้ดีกว่าปล่อยให้ผ่านท่อโล่งแบบปกติที่ยังคงโล่งมากไปสำหรับรอบเดินเบาและรอบต่ำ (ท่านลองสังเกตดูจากรถยนต์ของท่านจะเห็นว่า ที่รอบเครื่องต่ำๆ แรงบิดจะยังไม่ค่อยดีพอ ต้องให้ได้รอบเครื่องสูงกว่า 1500 รอบหรือใกล้ๆ 2000รอบแรงบิดจึงจะมาดี ) ทำให้ เวลาท่านขับรถออกตัวแบบค่อยๆ เหยียบคันเร่ง พบว่าแรงดึงให้รถออกตัวไปข้างหน้าจะไม่ค่อยมี ต้องกดคันเร่งเพื่อเร่งรอบเครื่องให้ถึงหรือเลยรอบเครื่องที่แรงบิดเริ่มมีกำลังฉุดรถไปข้างหน้ามากพอ
หากท่านถามว่า ทางโรงงานผลิตรถยนต์ทราบหรือไม่ว่า ช่วงรอบเครื่องต่ำๆ แรงบิดยังไม่ค่อยดีเพราะระบบท่อไอเสียยังโล่งไปสำหรับรอบต่ำๆ คำตอบคือ ทางโรงงานทราบครับ แต่ที่ไม่สามารถทำให้ระบบท่อไอเสียจากโรงงานมีการอั้นมากกว่าปกติได้เพราะ จะมีผลให้ตั้งแต่รอบกลางสูงขึ้นไปจนจรดรอบเครื่องสูงสุดมีการอั้น จนเกินไป จนทำให้ที่รอบเครื่องสูงๆ ให้แรงบิดและแรงม้าลดลง
ซึ่งระบบท่อไอเสียโรงงานก็มีการอั้นที่รอบกลางสูงและที่รอบสูงอยู่บ้างแล้ว ยิ่งมีการทำให้ระบบไอเสียอั้นมากขึ้นก็จะยิ่งแย่ (จึงไม่สนับสนุนให้เพิ่มท่อที่เป็นเกลียวหมุนหรืออัดไอเสียให้ช่วงรอบต่ำได้แรงบิดมากขึ้นแต่มีผลให้รอบกลางสูงและรอบสูงมีการอั้นมากกว่าเดิม ทำให้รอบกลางสูงและรอบสูงแย่ลงจึงได้ไม่คุมเสีย)
อย่างไรก็ตาม ทางโรงงานได้ออกแบบระบบท่อไอเสียให้รถยนต์บางรุ่น (จะเป็นรถสปอร์ตเป็นส่วนใหญ่ซึ่งต้องการเค้นสมรรถนะออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้) ให้เป็นแบบกึ่งแปรผัน (แต่ทางโรงงานมักจะเรียกว่าระบบไอเสียแบบแปรผัน) โดย ออกแบบให้ระบบไอเสียมีการอั้นมากกว่าระบบไอเสียรถปกติที่ใช้กัน แล้วให้รถยนต์ใช้ระบบไอเสียแบบนี้ตั้งแต่เดินเบาจนถึงประมาณ 2000 รอบ เมื่อรอบเครื่องสูงกว่า 2000 รอบ ECU จะสั่งให้ลิ้นไอเสียเปิดช่องให้ไอเสียสามารถผ่านออกได้ปริมาณมากขึ้น (การเปิดของลิ้น จะมีสองแบบ คือ แบบที่พอถึงรอบเครื่องดังกล่าวจะเปิดพรวดกว้างออกไปเต็มที่กับแบบค่อยๆ เปิดกว้างมากขึ้นไปตามรอบเครื่องที่สูงขึ้น) เป็นการปรับลดการอั้น ลด back pressure ให้ลดลงตามรอบเครื่องที่สูงขึ้น (รอบเครื่องที่สูงมากขึ้น back pressure จะไม่เป็นผลดีแต่จะเป็นผลเสีย ต้องจัดการ balanced ให้เหมาะสม)
เพราะช่วงรอบเครื่องต่ำๆ ต้องออกแบบให้ระบบท่อไอเสียมีการอั้นมากๆ เพื่อเพิ่ม back pressure ทำให้แรงบิดที่ช่วงรอบเครื่องต่ำๆ ไม่สูญเสียไป สามารถให้แรงบิดออกมาได้เต็มที่ ส่วนรอบเครื่องยิ่งสูงขึ้นต้องออกแบบให้ระบบไอเสียมี back pressure น้อยลง จึงเป็นที่มาของระบบไอเสียแบบปรับขนาดรูท่อได้และเป็นการปรับขนาดรูท่อแบบแปรผันสัมพันธ์กับรอบเครื่อง และเป็นการปรับขนาดรูท่อแบบออร์โตเมติค หรือปรับแบบอัตโนมัติ เราทำหน้าที่เพียงกดคันเร่ง แรงดันไอเสียก็จะดันให้ลิ้นไอเสียเปิดกว้างขึ้นไปได้เอง โดย ที่รอบเครื่องเดินเบา ลิ้นจะถูกอำนาจแม่เหล็ก (แบบทนความร้อนพิเศษที่ติดตั้งอยู่ข้างๆ ท่อภายนอกท่อไอเสีย VCE) ดูดให้ลิ้นไม่เคลื่อนที่ อยู่นิ่งๆ ไม่สะบัดไปมา
ช่วงแรกที่ทำออกมาจะใช้ความฝืดของบานพับสแตนเลสและน้ำหนักที่มากของลิ้นคอยถ่วงน้ำหนักไม่ให้ลิ้นเปิดออกในขณะที่แรงดันไอเสียยังไม่มากที่รอบเดินเบาของเครื่องยนต์ และไม่ให้ลิ้นสะบัดมากเกินไปที่จะทำให้เกิดเสียงรบกวนอันน่ารำคาญได้ ต่อมาพบว่าต้องเพิ่มแรงที่สามารถหยุดการสั่นกระพือของลิ้นให้มากขึ้น กรณีเช่นนี้ ถ้าจะใช้สปริงก็ไม่เป็นผลดีต่อรอบเครื่องสูงๆ เต็มที่เพราะรอบเครื่องยิ่งสูงแรงต้านของสปริงก็ยิ่งมาก แทนที่จะออกแบบให้ลิ้นมีการต้านสูงๆ ที่รอบต่ำและลดการต้านให้มากขึ้นเมื่อรอบเครื่องสูงขึ้น ก็กลายเป็นทำงานสลับกัน จึงตัดสินใจใช้แรงจากแม่เหล็กแทน
มีการใช้แม่เหล็ก neodymium ให้แรงดูดสูง ทำงานให้ผลดี ควบคุมการทำงานของลิ้นได้ดีทั้งรอบต่ำ รอบกลางและรอบสูง แต่ปัญหาที่พบคือ เมื่อใช้งานสักระยะหนึ่งแม่เหล็กจะเสื่อมเนื่องจากความร้อนที่ท่อไอเสียสูงมาก
มีการเปลี่ยนไปใช้แม่เหล็กแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาแม่เหล็กเสื่อมจากความร้อนที่ท่อไอเสีย จนกระทั่งเมื่อสองปีที่ผ่านมา เปลี่ยนมาใช้แม่เหล็กแบทนความร้อนพิเศษจึงสามารถแก้ปัญหาที่คาราคาซังมาหลายปีนี้ได้ในที่สุด
ท่อ VCE จึงเปลี่ยนรูปโฉม จากรุ่นแรกเป็นท่อเหล็กสีดำไม่มีแม่เหล็กติดข้างๆ ท่อ เป็นท่อสแตนเลสมีตะแกรงหุ้มแม่เหล็กติดข้างๆ ท่อ จนเป็นรุ่นที่ครอบสแตนเลสกลมๆ มี T bar ประกบยึดด้วยน็อตสแตนเลส (รุ่นนี้เป็นแม่เหล็กรุ่นล่าสุดแล้ว) ปัญหาที่พบกลับมาบ้างคือน็อตที่ยึด แผ่น T bar คลาย จึงเปลี่ยนไปใช้ที่ครอบสแตนเลสกลมๆ เชื่อมติดกับท่อตายตัวไปเลย
ท่อไอเสีย VCE ใช้บานพับสแตนเลสขนาดใหญ่ทำให้เมื่อโดนความร้อนสูงๆ จากไอเสียก็ยังมีการเคลื่อนไหวที่ราบรื่นไม่ติดขัด รอบๆ ลิ้นไอเสียจะมีช่องว่างรอบๆ ให้ไอเสียออกได้ ไม่ได้ปิดสนิทแบบลิ้นปีกผีเสื้อ
ท่อไอเสีย VCE รุ่นปัจจุบันใช้แม่เหล็กทนร้อนแบบพิเศษไม่มีปัญหาแม่เหล็กเสื่อม มีแรงดูดคงที่ตลอดอายุการใช้งาน (ไม่มีปัญหาให้แก้ไขเรื่องแรงดูดของแม่เหล็กแม้แต่รายเดียวตลอดสองปีที่ผ่านมา) ปัจจุบันจึงรับประกันถึง 3 ปี (ในการใช้งานจริงแม่เหล็กจะใช้งานได้ปกติตลอดอายุการใช้งานดังที่กล่าวไปแล้ว)
แนะนำให้ติดตั้งท่อไอเสีย VCE เพิ่มเข้าไปเฉยๆ ไม่ต้องตัดแคท (CAT) ออกหรือเปลี่ยนหม้อพักกลางหรือหม้อพักหลังใหม่
การติดตั้งท่อ VCE เพิ่มเข้าไปเฉยๆ เป็นการทำให้ระบบไอเสียรถยนต์ของท่านมีการอั้นมากขึ้นที่รอบเดินเบาและรอบต่ำ และคลายการอั้นไปเรื่อยๆ เมื่อรอบเครื่องยนต์สูงขึ้น แรงบิดจึงเพิ่มจากเดิมตั้งแต่รอบต่ำมากๆ ไปจนจรดรอบกลาง จากนั้นที่รอบกลางก็จะพอๆ กับระบบไอเสียเดิมก่อนติดตั้ง และไปเพิ่มแรงบิดและแรงม้ามี่รอบปลายอีกนิดหน่อย
[/url]
ท่อ VCE เพิ่มอัตราเร่งตั้งแต่เดินเบาขึ้นไปโดยรอบสูงไม่อั้น
พิสูจน์จากผลอัตราเร่ง 0-100 K/H และ อัตราเร่ง ควอเตอร์ไมล์ของ Toyota Vigo champ 4x4 4 door 3.0 diesel VN turbo ระบบเกียร์ AT ระบบไอเสียเดิมเทียบกับเมื่อเพิ่มท่อไอเสีย VCE เข้าไปเฉยๆ (อัตราเร่งดีขึ้น 0.7 วินาที) ดีขึ้นทั้งช่วงความเร็วต่ำ (0-60K/H) และช่วงความเร็วกลาง (0-100K/H) และช่วงความเร็วสูงก็ไม่เสีย (ความเร็วที่มากกว่า 120K/H ก็ไม่ด้อยลง) ช่วงความเร็วควอเตอร์ไมล์ หรือ ¼ ไมล์ก็ไม่ตกลง ยังคงจัดจ้าน (เดิมทำได้ 18.3 วินาที ก็ไวขึ้นเป็น 17.6 วินาที)
กราฟแรกเดิมๆ ก่อนเพิ่มท่อ VCE
[/url]
[/url]
กราฟถัดมาเมื่อเพิ่มท่อ VCE เข้าไปเฉยๆ เพิ่มอัตราเร่งตั้งแต่เดินเบาขึ้นไป
ดูจากแรงบิดที่ได้เพิ่มขึ้นก็เพิ่มตั้งแต่รอบต่ำๆ ให้กราฟชันกว่า (ดูจุดที่ลูกศรชี้ลง กราฟด้านซ้ายมือเดิมๆ ก่อนติดตั้ง/กราฟขวามือเมื่อเพิ่มท่อ VCE)
การเปลี่ยนเกียร์เร็วและราบรื่น (ดูจุดที่ลูกศรชี้ขึ้น กราฟด้านซ้ายมือเดิมๆ ก่อนติดตั้ง/กราฟขวามือเมื่อเพิ่มท่อ VCE)
ท่อไอเสีย VCE ออกแบบตามพิกัดซีซี มีตั้งแต่ 1200cc ECO car ไปจนถึงเครื่อง UZ 4200cc
ขนาดท่อยาวประมาณคืบ ป่องกลางหน้าตัดประมาณ 3 นิ้ว ปากทางเข้า/ออกรถเก๋งทำไว้ประมาณ 2 นิ้ว รถปิ๊คอัพรถตู้รถ SUV ปากทางเข้า/ออก ประมาณ 2.5 นิ้ว
[/url]
ราคาท่อ VCE รุ่นปัจจุบัน (ปากทางเข้า/ออกเป็นสแตนเลส จากเดิมปากทางเข้า/ออกเป็นเหล็ก) ราคาอยู่ที่ 3600 บาท ต่อไปจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มและอื่นๆ ราคาก็จะขยับขึ้นไปเป็นสี่พันกว่าบาทครับ (ราคา 3600 บาทเป็นราคาเก่าที่ไม่ได้ปรับนานแล้ว)
สามารถสั่งซื้อไปให้ร้านท่อทั่วไปติดตั้งให้ได้ เพราะที่ตัวท่อจะเขียนบอกทางเข้า IN ทางออก OUT และด้านล่างของท่อ Bottom ไว้แล้ว บนแท่งสแตนเลสตามรูป
เวลาติดตั้งต้องให้แท่งนี้อยู่ล่างสุด (แม่เหล็กที่เห็นเป็นกระเปาะกลมๆ ก็จะอยู่ด้านข้างโดยอัตโนมัติ)
ตำแหน่งติดตั้งหลังแคท (CAT) หรือหลังพักกลาง หรือก่อนเข้าหม้อพักหลัง หรือ กรณีไม่มีที่ติดตั้งหลังแคทหรือหลังพักกลางก็แนะนำให้ติดตั้งหลังหม้อพัก (ก่อนจะออกปลายท่อ)
ตำแหน่งติดตั้งท่อควรจะขนานกับพื้นหรือห้อยขึ้นลงไม่มาก (กรณีเบี่ยงซ้ายเบี่ยงขวาไม่เป็นไรครับ)
ร้านที่ติดตั้งประจำ อยู่ที่ถนนเชื่อมระหว่างธัญญะคลองสามมาคลองสามลำลูกกา (ให้โทรนัดหมายก่อนที่ 0851423903 เพราะท่อออกแบบตามซีซีไม่ได้ทำสต็อคไว้ครับ)
[/url]
เส้นธัญญะมุ่งหน้า Future รังสิต (ถ้ามาจาก Future ให้ไปกลับรถเมื่อเลยสะพานคลองสามขึ้นไป) สังเกตโรงเรียนนานาชาติตามภาพ
[/url]
สะพานถัดมาจะเข้าเทศบาลบึงยี่โถ
สะพานที่ตรงมาที่ร้านได้เลยคือสะพานที่ถัดมา (สะพานจะอยู่ถัดกันไม่ไกลต้องขับรถช้าๆ) สังเกตป้ายบาววาว (ครัวผู้ใหญ่วี)
[/url]
และที่บนถนนพุทธมณฑลสายสี่ ตรงข้ามกับปั๊มน้ำมัน Esso (ชื่อร้าน นำสมัยการไฟฟ้า 2) ตามภาพ (ให้โทรนัดหมายก่อนที่ 0851423903 เพราะท่อออกแบบตามซีซีไม่ได้ทำสต็อคไว้ครับ)
ติดต่อสั่งซื้อ ท่อไอเสีย VCE ทางโทร 0851423903 หรือ ทาง LINE ID :: 0851423903