ถ้าที่คอมแอร์เขียน134 เติม R12 ได้ครับไม่เป็นไร
ของผมคอม 134 เติม 134 แต่ระบบเดิมเป็น 12 เกิดอาการระบายความร้อนไม่ทันเวลารถติดอากาศร้อน
หัวเติมไม่แน่นอนครับ เค้าเปลี่ยนกันได้ครับ เพราะหัวเติมผม 12 แต่ที่รถเป็นน้ำยา 134 ถ้าจะเปลี่ยนน้ำยาก็ต้องล้างระบบ
แต่ถ้าไม่เปลี่ยนน้ำยา ของผม มันจะมีแรงดันภายในระบบสูงเนื่องจากความร้อน ก็จะทำให้คอมแอร์อายุสั้นลง ครับ
ขอบคุณมากครับ สรุปของผมเติม R-12 Search ข้อมูลเจอตามนี้ครับ เอามาฝากเผื่อคนที่ไม่รู้อย่างผม
คุณเติมน้ำยาแอร์รถยนต์
ถูกต้องหรือไม่ ?
ท่านสามารถป้องกันอันตรายจากน้ำยาแอร์รถยนต์ปลอมปน
ผู้ขับขี่รถยนต์
1) ควรเติมน้ำยาแอร์รถยนต์ให้ถูกประเภท โดยรถที่ผลิตก่อนปี พ.ศ. 2539 เติมน้ำยาแอร์ R-12 และรถที่ผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เติมน้ำยาแอร์ R-134a
2) ก่อนเติมน้ำยาแอร์ ควรสังเกตชนิดของน้ำยาแอร์ที่ร้านซ่อมบำรุงจะเติมให้กับรถยนต์ว่าตรงกับประเภทของรถหรือไม่
3) ควรสังเกตวาล์วบริการ รถที่ติดตั้งระบบแอร์ที่ใช้กับน้ำยาแอร์ R-12 จะมีวาล์วบริการแบบเกลียว ส่วนรถที่ติดตั้งระบบแอร์ที่ใช้กับน้ำยาแอร์ R-134a จะมีวาล์วบริการแบบสวม
ผู้ประกอบการและช่างซ่อมบำรุงของร้านซ่อมแอร์รถยนต์ สามารถป้องกันการเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และลดค่าใช้จายที่ไม่จำเป็นได้โดย
1) ก่อนจะตัดสินใจซื้อน้ำยาแอร์ทุกครั้ง ควรทราบส่วนประกอบของสารทำความเย็นที่อยู่ในน้ำยาแอร์ที่จะซื้อก่อน โดยถามจากผู้ขายหรือสังเกตจากฉลากที่ติดอยู่ที่ข้างถังน้ำยาแอร์ เพื่อตรวจสอบดูรายละเอียดของส่วนผสมของสารในถังน้ำยานั้นๆ และหากไม่แน่ใจ สามารถตรวจสอบโดยใช้เครื่องตรวจสอบชนิดของสารทำความเย็น (Refrigerant Identifier) ซึ่งจะสามารถบอกส่วนผสมของสาร R-12, R-134a, R-22 และสารไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ในน้ำยาที่ตรวจสอบได้
การผลิตระบบแอร์รถยนต์ในประเทศไทย ถูกออกแบบไว้ให้ใชักับน้ำยาแอร์รถยนต์ 2ชนิด คือ R-12 ใช้กับแอร์รถยนต์ที่ผลิตก่อนปี พ.ศ. 2539 และเป็นสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ที่จะเลิกใช้ภายในปี 2552 และ R-134a เป็นน้ำยาแอร์รถยนต์ทดแทน R-12 ใช้กับรถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 อันตรายจากการเติมน้ำยาแอร์ไม่ถูกต้อง หรือมีการปลอมปนสารชนิดอื่น
การใช้น้ำยาแอร์ไม่ถูกประเภทตามที่กำหนดไว้กับระบบแอร์รถยนต์ หรือการใช้น้ำยาแอร์อื่นๆ ที่ปลอมปนมากับสารทำความเย็น R-12 ก็จะก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อระบบแอร์รถยนต์ ผู้ขับขี่ และช่างซ่อมบำรุง ได้แก่
ช่างซ่อมบำรุงแอร์รถยนต์ - ร้านซ่อมบำรุงบางรายยังคงใช้วิธีการตรวจรอยรั่วโดยการใช้ตะเกียง (Torch) และสังเกตสีของเปลวไฟ ซึ่งถ้าหากระบบนั้นมีสารไฮโดรคาร์บอนอยู่และมีการรั่วซึม อาจเกิดการติดไฟและระเบิดได้
ผู้ขับขี่รถยนต์ - หากน้ำยาแอร์มีสารไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นสารที่ติดไฟได้ผสมอยู่ และมีการรั่วออกมาสู่ห้องผู้โดยสารแล้ว อาจเกิดการติดไฟและระเบิดได้ เป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ระบบแอร์รถยนต์ - อุปกรณ์ในระบบจะเสียก่อนกำหนด สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอย่างมาก เนื่องจากระบบแอร์ไม่ได้ถูกผลิตมาเพื่อให้ใช้กับน้ำยาแอร์ผิดประเภท หรือการปลอมปนน้ำยาแอร์รถยนต์
ดังนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบก หามาตรการในการควบคุมการใช้สาร CFC-12 ( น้ำยาแอร์รถยนต์) ในภาคอุตสาหกรรมซ่อมแอร์รถยนต์ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ นั่นคือ การตรวจชนิดของสารทำความเย็นในระบบแอร์รถยนต์ว่าถูกตรงตามที่บริษัทผู้ผลิตรถกำหนดไว้หรือไม่ เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการตรวจสภาพรถ เพื่อประกอบการพิจารณาจดทะเบียนใหม่และต่อภาษีรถประจำปี สำหรับรถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวยังถือเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคอีกทางหนึ่งด้วย เพราะการตรวจสอบสารทำความเย็นนี้จะทำให้เจ้าของรถยนต์ทราบว่าสารทำความเย็นที่ใช้กับระบบแอร์รถยนต์ของตนถูกต้องตามที่กำหนดไว้หรือไม่ และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีหากพบว่าสารทำความเย็นที่มีอยู่ไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ให้ใช้
สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเกี่ยวข้องอะไรกับแอร์รถยนต์
แหล่งข้อมูล: หน่วยบริหารจัดการโครงการเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน -
http://www.pmuthai.org/kl03.php 2) ระมัดระวังในการให้บริการ คือห้ามใช้วิธีการตรวจรอยรั่วโดยใช้ตะเกียงไฟ (Torch) โดยเฉพาะรถที่ท่านไม่ทราบว่ามีน้ำยาแอร์ชนิดใดอยู่ในระบบ เนื่องจากหากน้ำยาแอร์ชนิดนั้นมีน้ำยาแอร์ไฮโดรคาร์บอนอยู่ อาจจะทำให้เกิดการติดไฟและระเบิดได้
หน้าแรก-แอร์รถยนต์ | อะไหล่แอร์-ล้างแอร์ | ความรู้เกี่ยวกับแอร์รถยนต์ | FAQ | Webboard | แผนที่ร้าน
ค้นหาข้อมูลจากเวบทั่วโลก
หน้าแรก-แอร์รถยนต์ | อะไหล่แอร์-ล้างแอร์ | ความรู้เกี่ยวกับแอร์รถยนต์ | FAQ | Webboard | แผนที่ร้าน