สถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา: API (The American Petroleum Institute)
คุณภาพสำหรับเครื่องยนต์เบนซินซึ่งตามหลังอักษรย่อ API โดยจะใช้ตัวอักษร S (STATION SERVICE-SPARK IGNITION) ตามด้วยตัวอักษรย่อที่บ่งบอกเกรดคุณภาพโดยเรียงเกรดคุณภาพตามตัวอักษร (คุณภาพต่ำ --> คุณภาพสูง) A, B, C, D, E, F, G, H, J, L, M, และสูงสุดในปัจจุบันคือ N
เกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลซึ่งตามหลังอักษรย่อ API โดยจะใช้ตัวอักษร C (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) ตามด้วยตัวอักษรย่อที่บ่งบอกเกรดคุณภาพโดยเรียงเกรดคุณภาพตามตัวอักษร (คุณภาพต่ำ --> คุณภาพสูง) A, B, C, D, E, F, G, H และ I เช่น API CI-4 ซึ่งเป็นเกรดคุณภาพสูงสุดในปัจจุบัน (เลข 4 ที่ตามหลังหมายถึง เน้นใช้สำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ)
ในน้ำมันเครื่องบางรุ่นที่มีทั้งตัวอักษร S (สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน) และ C (สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล) ไว้ด้วยกัน เช่น API SM/CF หรือ API CH-4/SJ หมายความว่า น้ำมันเครื่องดังกล่าวสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล
อย่างไรก็ตาม API จะระบุประเภทเครื่องยนต์ที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานมากกว่าไว้ข้างหน้า เช่น API SM/CF จะเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และ API CH-4/SJ จะเหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
จากพี่กู๊ กูเกิ้ล
แต่ลูกเหม็นผมไม่ทราบจริงๆ
อันนี้ในหนังสือ "เชื้อเพลิงและสารหล่อลื่น" ก็บอกไว้ครับ เคยเรียนตอนอยู่ปวส.ละครับ เรื่องสารหล่อลื่นเนี้ยครับ
ถามว่าใส่ด้วยกันได้มั้ย ตอบเลยครับว่าใส่ด้วยกันได้ครับ แต่ว่าพังหรือไม่พังนั้นอีกเรื่องนึงครับ เพราะว่าค่าความหนืดที่มีอยู่ในน้ำมัน ไม่เหมือนกันครับ
ถ้าไม่อย่างนั้นก็คงแบ่งเกรดน้ำมันไม่ได้ครับ ในหนังสือมันจะมีรูปหอกลั่นน้ำมัน แล้วแบ่งส่วนให้ดู ว่าน้ำหนักของเชื้อเพลิงแต่ละชนิด จะถูกกลั่นเป็นอะไรบ้าง
จำได้คร่าวๆว่า ชั้นต่ำสุดจะเป็นยางมะตอย ต่อมาจะเป็น น้ำมันเตา นอกนั้นจำไม่ได้ครับ